ทัศนีย์ แซ่ลิ้ม

ทัศนีย์ แซ่ลิ้ม

คุณแม่ลูกอ่อน ผู้สนใจประเด็นด้านการศึกษา พร้อมแหวกว่ายในทะเลข้อมูลในทุกๆ เรื่องที่อยากรู้ ชอบเลนส์โบราณและการถ่ายภาพ

อ้าย เว่ยเว่ย : ศิลปะเพื่อท้าทายอำนาจ ตั้งคำถามต่อความเชื่อ

อ้าย เว่ยเว่ย : ศิลปะเพื่อท้าทายอำนาจ ตั้งคำถามต่อความเชื่อ

          อ้าย เว่ยเว่ย (Ai Weiwei) เป็นศิลปินและนักเคลื่อนไหวชาวจีน ซึ่งมีผลงานหลากหลายแขนง ทั้งประติมากรรม สื่อผสม ภาพถ่าย ศิลปะจัดวาง สถาปัตยกรรม และภาพยนตร์ แม้ฝีมือของเขาจะได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่รัฐบาลจีนกลับไม่ค่อยจะชื่นชมเขาเท่าไรนัก เพราะอ้ายมักวิจารณ์การใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมของรัฐบาลแบบตรงไปตรงมา รวมทั้งเคยเปิดโปงการทุจริตของข้าราชการจนเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลก           พ่อและแม่ของอ้ายเป็นกวี และตกเป็นนักโทษการเมืองในยุคเหมาเจ๋อตง ภายหลังการปล่อยตัว ทั้งครอบครัวถูกเนรเทศไปอยู่ในดินแดนกลางทะเลทรายอันแสนทุรกันดารในเขตซินเจียง เขาใช้ชีวิตวัยเด็กและเติบโตขึ้นที่นั่นจวบจนอายุ 16 ปี โดยแทบไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร แต่ต้องขวนขวายหาความรู้ด้วยตนเอง           “การมีชีวิตที่แร้นแค้นยากจนและแสนว่างเปล่าในวัยเด็ก มีอิทธิพลต่อตัวผมอย่างมาก เพราะมันทำให้ผมเข้าใจว่าชีวิตมนุษย์เรานั้นเปราะบางเพียงใด”           หลังสิ้นสุดยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ครอบครัวของอ้ายเดินทางกลับปักกิ่ง เขาได้เข้าเรียนที่สถาบันภาพยนตร์ และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มศิลปะหัวก้าวหน้าที่มีชื่อว่า ‘ดวงดาว’ เขาเป็นหนึ่งในนักเรียนรุ่นแรกๆ ที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ โดยเลือกไปเก็บเกี่ยวความรู้ด้านศิลปะที่นครนิวยอร์ก…

โบแยน สแลต : จากความสงสัยกลายเป็นนวัตกรรมรักษ์โลก

โบแยน สแลต : จากความสงสัยกลายเป็นนวัตกรรมรักษ์โลก

          ในปี 2011 โบแยน สแลต (Boyan Slat) เด็กหนุ่มชาวดัตช์วัย 16 ปี มีโอกาสไปดำน้ำที่ประเทศกรีซ แต่เขากลับนับจำนวนปลาได้น้อยกว่าขยะพลาสติก เหตุการณ์นี้เป็นแรงบันดาลใจผลักดันให้เขากลับมาพัฒนาโครงงานที่โรงเรียน เพื่อตรวจสอบว่าเหตุใดการทำความสะอาดท้องทะเลและมหาสมุทรจึงเป็นเรื่องที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ (หรือไม่มีใครลงมือทำจริงจัง)           “เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเริ่มทำงานบางอย่าง คุณต้องมีข้อสันนิษฐานพื้นฐานว่า ปริศนานี้มีทางออกใช่ไหม? หากคุณเริ่มต่อจิกซอว์โดยไม่รู้ว่าชิ้นส่วนทั้งหมดอยู่ในกล่องหรือไม่ มันจะไม่ใช่โจทย์ที่สนุก ดังนั้นผมจึงคิดว่า ในเมื่อเราสร้างปัญหานี้ขึ้นมาได้ แล้วทำไมเราจะแก้มันไม่ได้”           เมื่อหลายสิบปีก่อน กัปตันเดินเรือชาวอเมริกันซึ่งได้แล่นเรือยอชต์จากหมู่เกาะฮาวายเพื่อเดินทางกลับบ้านที่ลอสแองเจลิส ได้ค้นพบ แพขยะตะวันออก (Eastern Garbage Patch) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มันเป็นแหล่งรวมขยะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ประเทศฝรั่งเศสถึง 3 เท่า คาดว่ามีปริมาณพลาสติกมากกว่า 1.8 ล้านล้านชิ้น เมื่อขยะเหล่านี้ถูกแสงแดดแผดเผาก็จะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ…

เจมี โอลิเวอร์ : เชฟนักรณรงค์ ‘ฉลาดกินเพื่ออยู่ ฉลาดรู้เรื่องกิน’

เจมี โอลิเวอร์ : เชฟนักรณรงค์ ‘ฉลาดกินเพื่ออยู่ ฉลาดรู้เรื่องกิน’

          เมื่อปี 1999 สถานีโทรทัศน์บีบีซีช่อง 2 ของอังกฤษออกอากาศรายการทำอาหาร ‘The Naked Chef’ ที่โด่งดังไปทั่วโลก รายการนี้แจ้งเกิดเชฟหนุ่ม เจมี โอลิเวอร์ (Jamie Oliver) ซึ่งมีพรสวรรค์ทั้งในครัวและหน้าจอ ต่อมาเขาได้กลายเป็นดารา และเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่มีสาขาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย           บนเส้นทางความเป็นเชฟ เจมี ไม่เพียงมุ่งสู่ความสำเร็จด้านวิชาชีพแต่ยังสนใจปัญหาด้านสังคมแบบจริงจัง รายการโทรทัศน์ต่างๆ ที่เขาผลิตขึ้นเป็นเครื่องมือสำหรับการขุดคุ้ยปมปัญหาเรื่องปากท้องอย่างละเอียดรอบด้าน รวมทั้งก่อให้เกิดการสื่อสารที่ทรงพลังจนสามารถโน้มน้าวให้ผู้คนในสังคมและผู้กำหนดนโยบายคล้อยตาม           ในวัยเด็ก เจมี เป็นคนขี้อาย งุ่มง่าม มักถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง อีกทั้งมีความบกพร่องด้านการอ่านและการเขียน (Dyslexia) ทว่าอุปสรรคเหล่านี้กลับกลายเป็นประตูแห่งโอกาสไปสู่การค้นพบสิ่งที่หลงใหล และอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่เขา           “การเรียนรู้ในโรงเรียนไม่สามารถช่วยอะไรผมได้เลย ผลการเรียนออกมาแย่ ผมเลยใช้เวลาวันหยุดสุดสัปดาห์ทำงานในผับของครอบครัว…

โยสไตน์ กอร์เดอร์ : คำถามเชิงปรัชญา ค้นหาความหมายของชีวิต

โยสไตน์ กอร์เดอร์ คำถามเชิงปรัชญา ค้นหาความหมายของชีวิต

          หากกล่าวถึงนักเขียนสแกนดิเนเวียร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง ย่อมต้องมีชื่อของ โยสไตน์ กอร์เดอร์ (Jostein Gaarder) นักเขียนชาวนอร์เวย์ เจ้าของงานประพันธ์ โลกของโซฟี วรรณกรรมซึ่งเต็มไปด้วยคำถามเชิงปรัชญาตลอดทั้งเล่ม ทว่าอ่านง่ายเหมาะกับคนทุกวัย เขาเคยปรารภกับภรรยาว่าหนังสือที่ตั้งใจจะเขียนคงขายไม่ดีนัก หากมีคนซื้อสัก 500 เล่มก็ถือว่าดีแล้ว แต่โลกของโซฟีกลับถูกนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ กว่า 60 ภาษา และขายได้มากกว่า 50 ล้านเล่ม ในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และเกมคอมพิวเตอร์           หนังสือเรื่องนี้ได้ปลุกความฉงนสงสัยที่แอบซ่อนอยู่ในหัวใจของผู้คนทั่วโลก หลายคนเขียนจดหมายมาหาเขาเพื่อเล่าว่า พวกเขาเคยคิดว่ามีเพียงตนเองเท่านั้นที่ขบคิดเรื่องราวพวกนี้           “ผมสนใจปรัชญามานาน ก่อนที่จะรู้จักคำว่า ‘ปรัชญา’ เสียอีก ผมคิดว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กเล็กๆ มักถามคำถามว่า สิ่งต่างๆ…

‘Productive Failure’ ล้มเหลวแต่เกิดผล ผิดพลาดแต่เรียนรู้

‘Productive Failure’ ล้มเหลวแต่เกิดผล ผิดพลาดแต่เรียนรู้

          ‘ความล้มเหลว’ เป็นสิ่งที่หลายคนหลีกเลี่ยงและไม่อยากพบเจอ เพราะเป็นสิ่งที่สร้างความรู้สึกเจ็บปวด หรืออาจเกิดความเสียหายนานัปการ แต่หลายปีที่ผ่านมามีวลีซึ่งนิยมในกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่า ‘ล้มเร็วลุกเร็ว’ โดยมองว่าความผิดพลาดคือสิ่งที่สร้างบทเรียนและเป็นพื้นฐานเพื่อการเติบโตในอนาคต           สำหรับวงการการศึกษา ความล้มเหลวมักจะถูกมองในแง่ลบ ผู้เรียนไม่ค่อยจะมีโอกาสได้ลองผิดลองถูกหรือค้นพบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของผู้สอน หลักสูตรเป็นสิ่งที่กำหนดอย่างชัดเจนว่า ผู้เรียนต้องทำอะไร และต้องทำอย่างไรจึงจะเกิดการเรียนรู้           มนู คาปูร์ (Manu Kapur) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การเรียนรู้จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธรัฐสวิส ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สังเกตว่าการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปมักยึดหลักให้เนื้อหาเกิดความชัดเจนและเข้าใจง่าย แต่ในฐานะที่เคยเป็นนักฟุตบอลอาชีพมาก่อน เขาเชื่อมั่นว่าการฝึกฝนทักษะใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องเผชิญความล้มเหลว ความหงุดหงิด และการดิ้นรน           “ในเมื่อความล้มเหลวและความพยายามมีประโยชน์มาก ทำไมเราจึงไม่จงใจออกแบบมันในโรงเรียนล่ะ” ไอเดียดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดการเรียนรู้ที่ผสมผสานการสอนและการลงมือปฏิบัติเข้าไว้ด้วยกัน นั่นคือ Productive Failure (PF) หรือ…

เรียนเล่นเร้นลึก ใช้ ‘การ์ตูน’ สร้างสำนึก ‘ความเป็นพลเมือง’

เรียนเล่นเร้นลึก ใช้ ‘การ์ตูน’ สร้างสำนึก ‘ความเป็นพลเมือง’

          ปัจจุบันมายาคติที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัวหรือไม่เกี่ยวข้องกับเยาวชน ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่เรื่องจริง มีผลสำรวจว่า 4 ใน 5 ของประชากรอายุ 16-25 ปีในอังกฤษมีความสนใจด้านการเมือง โดยพวกเขาส่วนใหญ่รู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยหรืออภิปรายเรื่องดังกล่าวกับเพื่อนๆ เช่นเดียวกับข้อมูลของสหรัฐอเมริกาที่ระบุว่า เยาวชนกว่า 76% เชื่อว่าคนหนุ่มสาวมีพลังในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ โดยพวกเขา 1 ใน 3 คนเคยลงนามเรียกร้องในประเด็นสาธารณะ และ 1 ใน 7 คนเคยเข้าร่วมการเดินขบวนหรือการประท้วง             สำหรับการเรียนการสอนในโรงเรียน เนื้อหาว่าด้วยเรื่องการเมือง ประชาธิปไตย สิทธิ และหน้าที่ ถูกบรรจุไว้ในวิชาสังคมศึกษา วิชาหน้าที่พลเมือง หรือวิชาพลเมืองศึกษา เป้าหมายก็เพื่อเตรียมความพร้อมเยาวชนให้มีความเข้าใจในคุณค่าของประชาธิปไตย มีทัศนคติและพฤติกรรมในการเป็นพลเมืองที่ดี นอกเหนือจากการเรียนรู้เนื้อหาที่เป็นตำราแล้ว การนำการ์ตูนมาใช้เป็นสื่อการสอนก็เป็นอีกกลวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้การเรียนรู้เรื่องนี้มีชีวิตชีวา…

‘นักบรรณบำบัด’ ผู้ขจัดความวิตกและซึมเศร้าด้วยการ ‘ป้ายยา’ หนังสือ

‘นักบรรณบำบัด’ ผู้ขจัดความวิตกและซึมเศร้าด้วยการ ‘จ่าย’ หนังสือ

          พลังของหนังสือไม่เพียงแต่ช่วยสร้างสติปัญญาให้แก่มนุษย์ แต่ยังมอบความสุขสงบ และช่วยฟื้นฟูความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาในชีวิต การใช้หนังสือเพื่อประโยชน์ด้านการบำบัดมีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยมีการค้นพบอักษรจารึกว่า ‘สถานที่เยียวยาทางจิตใจ’ บริเวณทางเข้าห้องสมุดของกษัตริย์รามเสสที่ 2 แห่งอียิปต์ ในเมืองธีบส์และอเล็กซานเดรีย และในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 หนังสือถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือทหารที่ทุกข์ทรมานจากความทรงจำอันโหดร้ายในสมรภูมิ           ปัจจุบันผู้คนมีความเครียดและวิตกกังวลจากแรงกดดันต่างๆ ของสังคมและสภาพแวดล้อมที่พลิกผันอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความท้าทายด้านเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ และโรคระบาด การบำบัดด้วยหนังสือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่นักจิตวิทยานำมาใช้ วิธีนี้เป็นการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) คือเน้นการเข้าไปแก้ไขความคิดด้านลบที่ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อาจยั่งยืนกว่าการใช้ยารักษาเพียงอย่างเดียว โดยมีผู้ที่เป็น ‘หมอหนังสือ’ หรือ ‘นักบรรณบำบัด’ (Bibliotherapist) ทำหน้าที่ ‘จ่าย’ รายการหนังสือให้ผู้รับบริการเป็นรายบุคคล เครียด ซึมเศร้า หนังสือช่วยได้…

เที่ยวตามรอยวรรณกรรม เมื่อหนังสือจูงมือเราออกไปท่องโลกกว้าง

เที่ยวตามรอยวรรณกรรม เมื่อหนังสือจูงมือเราออกไปท่องโลกกว้าง

          กล่าวกันว่า “หนังสือคือประตูไปสู่สถานที่อีกแห่งหนึ่ง” เพราะสามารถนำพาผู้อ่านให้รู้จักกับเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เช่น ดินแดนอันห่างไกล ผู้คนต่างวัฒนธรรม หรืออดีตที่ผ่านมานานแล้ว ในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า ‘Armchair Travel’ หมายถึงการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องออกเดินทางจริงๆ แค่เพียงนั่งอยู่บนเก้าอี้สบายๆ แล้วอ่านหนังสือสนุกๆ สักเล่ม หรือดูภาพยนตร์ดูละคร ก็สามารถเปิดจินตนาการอันน่าตื่นตาตื่นใจ           ในขณะเดียวกัน หนังสือหลายเล่มก็มีแรงดึงดูดหรือจุดประกายให้ผู้อ่านอยากก้าวเท้าออกจากบ้าน ไปสัมผัสประสบการณ์เช่นเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มโปรด หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้แต่งในดวงใจ เกิดเป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่าจดจำ           มีข้อมูลว่า ในปี 2022 การท่องเที่ยวเชิงวรรณกรรม (Literary Tourism) สามารถสร้างมูลค่าราว 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแม้จะไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการท่องเที่ยวทั้งหมด แต่หลายประเทศมองเห็นโอกาสและได้ส่งเสริมปัจจัยแวดล้อมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวรรณกรรม หลายแห่งขยายผลสู่บริการทัวร์ บริการที่พัก รวมทั้งมีการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมจำหน่ายในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย          …

The American Museum of Natural History เพชรยอดมงกุฎแห่งพิพิธภัณฑ์ด้านธรรมชาติวิทยา

The American Museum of Natural History เพชรยอดมงกุฎแห่งพิพิธภัณฑ์ด้านธรรมชาติวิทยา

          ย้อนเวลากลับไปเมื่อประมาณ 180 ปีที่แล้ว เป็นยุครุ่งเรืองของการศึกษาค้นคว้าด้านธรรมชาติวิทยา ชาร์ลส์ ดาร์วิน ล่องเรือเดินทางไปยังหลายทวีปทั่วโลก เขาเพียรพูดคุยกับผู้คน สังเกตและจดบันทึก รวมทั้งเก็บตัวอย่างพืช สัตว์ และแร่ชนิดต่างๆ มากมาย จนในที่สุดนำไปสู่การปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต ว่าไม่ได้มาจาก ‘ผู้ทรงสร้าง’ แต่เป็นเรื่อง ‘วิวัฒนาการ’ ซึ่งสัมพันธ์กับกฎการคัดสรรของธรรมชาติ           ด้วยความกังวลว่าจะเกิดกระแสการคัดค้านที่รุนแรง ดาร์วิน ตัดสินใจเผยแพร่ทฤษฎีของเขาภายหลังจากการค้นพบถึง 20 ปี ความสั่นสะเทือนไม่เพียงเกิดขึ้นในยุโรป เมื่อแนวคิดของเขาเดินทางข้ามทวีปไปถึงสหรัฐอเมริกา ก็ได้เกิดการโต้แย้งอย่างกว้างขวางในหมู่นักวิทยาศาสตร์รวมทั้งนักการศึกษา ซึ่งมีทั้งฝั่งที่เปิดรับความรู้ใหม่และฝั่งที่เคร่งศาสนา ขณะนั้นบางรัฐมีกฎหมายว่า “ทฤษฎีใดๆ ที่ปฏิเสธเรื่องราวการสร้างอันศักดิ์สิทธิ์ ตามที่สอนในคัมภีร์ไบเบิลถือเป็นอาชญากรรม” กว่าทฤษฎีวิวัฒนาการจะได้รับการยอมรับในแผ่นดินอเมริกาก็ใช้เวลาหลายสิบปี           ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา (The…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก