ศรันภัทร โชติมนกุล

ศรันภัทร โชติมนกุล

ชาว gen y ที่มีหัวใจรักแมว ดนตรี การเขียนกลอน และไดอารี เติมไฟให้ชีวิตด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ เป้าหมาย(ที่มีสาระ) คือหยิบงานวิชาการบนหิ้งมาทำให้เข้าใจง่าย เป้าหมาย (นอกเวลางาน) คือได้บอกเล่าประสบการณ์ผ่านการเขียนนิยาย

กว่า 2 ทศวรรษ การเรียนรู้แบบ Constructionism ในประเทศไทย

กว่า 2 ทศวรรษ การเรียนรู้แบบ Constructionism ในประเทศไทย

          คลาสเรียนเขียนเกมคอมพิวเตอร์ โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ต้องลงสำรวจชุมชน โครงการลดปริมาณอาหารเหลือเพื่อลดโลกร้อน โปรเจกต์หนังสั้นและมิวสิกวิดีโอ แผนธุรกิจของผู้ประกอบการอายุน้อยร้อยล้าน เครื่องมือเหล่านี้ มักจะถูกนำมาใช้ในคลาสเรียนแบบ Constructionism ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำเสนอโดยซีมัวร์ แพเพิร์ต (Seymour Papert) ตั้งแต่ช่วงปี 1960s           การเรียนการสอนแบบ Constructionism มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนทำความเข้าใจโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัว สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองจากการ ‘ลงมือทำ’ และนำมาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่มีอยู่ เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ของตนเองได้ตลอดชีวิต           กระบวนการเรียนรู้เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และมีกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถาม ทดลอง และที่สำคัญที่สุดคือการลงมือทำหรือสร้างสิ่งใหม่ ตรงกับคำว่า ‘Construct’ ในภาษาอังกฤษ เพราะนั่นคือช่วงเวลาที่ผู้เรียนจะประกอบสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎีใหม่ด้วยตนเอง           ผู้อ่านบางท่านอาจสงสัยว่า แล้วการเรียนการสอนในระบบของไทย ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือแม้กระทั่งอุดมศึกษา ไม่ได้สอดคล้องกับแนวคิด Constructionism…

ประวัติศาสตร์การแปลฉบับย่อ

ประวัติศาสตร์การแปลฉบับย่อ

          คุณคงมีโอกาสได้สัมผัส ‘งานแปล’ มาอยู่บ้าง เพราะผลิตผลของการแปลอยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมเล่มโปรด บทกวีแนวปรัชญา หนังสือเรียนเล่มหนา บทบรรยายไทยของภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์จากต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งคอนเทนต์ในโลกออนไลน์           มองย้อนไปในอดีต การแปลช่วยให้เกิดการถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม นักปราชญ์ในแต่ละพื้นที่บันทึกองค์ความรู้ ศิลปวิทยาการซึ่งมีคุณค่าดุจขุมทรัพย์เอาไว้ด้วยภาษาท้องถิ่น นักแปลคือผู้ที่ทำให้ ‘ความรู้’ ในโลกใบนี้เลื่อนไหลและหลอมรวม เกิดการประยุกต์ ต่อยอด และแลกเปลี่ยนอย่างเสรี เป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการกำหนดรูปแบบวัฒนธรรมของพื้นที่ปลายทางการแปล           ประโยชน์ของการแปลภาษานั้นเด่นชัด แต่เราตระหนักถึงความสำคัญของนักแปลมากน้อยแค่ไหน บทความนี้จะพาคุณเดินทางข้ามผ่านเวลาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อมาสำรวจกันว่า การแปล และบทบาทของนักแปลที่มีต่อโลกใบนี้ มีพัฒนาการอย่างไร รูปแบบการแปล: เขาแปลกันอย่างไร           คนที่พูดได้หลายภาษา อาจจะไม่ใช่นักแปลที่ดีก็ได้…           นักแปลในอดีตหลายท่านกล่าวไว้แบบนี้ เพราะการแปลที่ดีต้องใช้มากกว่าความสามารถทางภาษา ต้องสามารถทำให้ผู้อ่านซึมซับและเข้าใจวัฒนธรรมต้นทาง สมกับคำว่า…

GLAMhack ปลดล็อกข้อมูลวัฒนธรรม ปั้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้

GLAMhack ปลดล็อกข้อมูลวัฒนธรรม ปั้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ผู้ใช้

          เป็นเวลา 2 วันเต็มที่ห้องออดิทอเรียมของ Musée d’ethnographie de Genève หรือเรียกย่อๆ ว่า MEG พิพิธภัณฑ์ใจกลางกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คลาคล่ำไปด้วยผู้เชี่ยวชาญสายไอที และนักวิชาการสายวัฒนธรรม แต่ละกลุ่มพูดคุยกันอย่างคร่ำเคร่งเพื่อร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ของกลุ่มตนเองที่เตรียมการล่วงหน้ามาแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ‘hackathon’ หลายสิบชีวิตต่างระดมสมองปั้นโปรเจกต์ แม้ในช่วงอาหารเย็นหรือช่วงเวลาพักจิบชากาแฟ ก็ยังไม่หยุดพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เผื่อว่าไอเดียจะพุ่งกระฉูด จุดไฟติดขึ้นมา เมื่อได้เปลี่ยนอิริยาบถและสิ่งแวดล้อม           ในที่สุดเวลาก็ดำเนินมาถึงช่วงสุดท้าย คือการนำเสนอโปรเจกต์ที่แต่ละทีมสกัดไอเดียกลั่นกรองมาอย่างดีจนเกิดเป็นต้นแบบ หรือ ‘Prototype’           บ้างก็เป็นผลงานง่ายๆ แต่แก้ไขปัญหาที่ถูกนำมาเป็นโจทย์ตั้งต้นอย่าง Chatbot             บ้างก็ทำแผนที่แบบอินเทอร์แอคทีฟ นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมให้เข้าใจง่าย           บ้างพยายามคิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาการทำงานหลังบ้านให้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้…

พื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิตในย่านเมืองเก่าสงขลา

พื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิตในย่านเมืองเก่าสงขลา

          ริมแผ่นน้ำสีเงินของทะเลสาบสงขลา กลุ่มอาคารที่ถูกอนุรักษ์เป็นอย่างดีกระจายตัวอยู่บนถนนสายหลักในย่านเมืองเก่า ถนนนครนอก นครใน และนางงาม บ้างถูกดัดแปลงมาเป็นร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก บ้างก็เป็นแกลเลอรี พิพิธภัณฑ์ หรือพื้นที่สำหรับประกอบกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ นักท่องเที่ยวเดินถ่ายภาพกับอาคารทรงชิโน-โปรตุกีส และสตรีทอาร์ตที่สะท้อนวิถีชีวิตของชาวสงขลาในอดีต เยาวชนในชุดนักเรียนหลายคนแวะเวียนไปชมนิทรรศการตามแหล่งเรียนรู้ ย่านเมืองเก่าดูคึกคัก มีชีวิตชีวา           นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษที่ผู้เขียนได้หวนกลับมาเยือนเมืองสงขลาอีกครั้ง ความทรงจำเกี่ยวกับย่านเมืองเก่าค่อนข้างรางเลือน จำได้เพียงว่าบรรยากาศในภาพรวมก็เหมือนเมืองอื่นทั่วไปที่ผู้คนเข้าเมืองมาเพื่อค้าขาย และทำกิจธุระสำคัญ กลับมาครั้งนี้ตัวเมืองสะท้อนความเป็นเบ้าหลอมวัฒนธรรมได้ชัดเจนขึ้น อาคารบ้านเรือน ถนนหนทางต่างๆ ได้รับการอนุรักษ์ในทิศทางเดียวกัน           ส่วนสิ่งที่เสริมเพิ่มเข้ามาจากในอดีต คือกลิ่นอายของความสร้างสรรค์แบบใหม่ๆ ที่แทรกอยู่ในบรรยากาศเมืองเก่า ‘สร้างสรรค์’ ที่หมายถึง การมีส่วนร่วมและลงมือทำ แทบทุกตรอกซอกซอยมีพื้นที่ให้ผู้มาเยือนหรือคนท้องถิ่นใช้เวลาซึมซับเรียนรู้ตัวตนของเมือง และทำกิจกรรมตามความสนใจ ไม่ใช่แค่ชม ชิม ชอป…

อดัม แกรนต์ : ‘คิดแย้ง’ สร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กร

อดัม แกรนต์ : ‘คิดแย้ง’ สร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กร

          ในวันนี้ นักอ่านหลายๆ ท่านคงรู้จัก อดัม แกรนต์ (Adam Grant) หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับผลงานของเขามาบ้าง  เขาคือ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาองค์กรของสำนักธุรกิจวอร์ตัน (Wharton School) มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย และผู้เขียนหนังสือ ‘เบสต์เซลเลอร์’ หลายเล่ม           ผลงานของเขา Think Again, Give and Take, Originals, Option B, Power Moves ถูกแปลไปเป็นภาษาอื่นๆ กว่า 45 ภาษาทั่วโลก นักอ่านและนักรีวิวจำนวนมากคิดว่ามันไม่เหมือนกับหนังสือฮาวทูทั่วไปที่ประกอบไปด้วยถ้อยคำใหญ่ๆ ฟังดูดี เพราะทุกเล่มล้วนอัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษา ทฤษฎี และข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ และที่หลายคนเห็นพ้องกัน คือเขามักจะเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามย้อนกลับ หรือ ‘คิดแย้ง’ มองเรื่องราวที่คุ้นเคยในมุมใหม่…

เซอร์ เคน โรบินสัน : เขย่าระบบการศึกษา ด้วยคำถามสะเทือนวิธีคิด

          การบรรยายในงาน TED 2006 หัวข้อ โรงเรียนทำลายความคิดสร้างสรรค์จริงหรือ? (Do Schools Kill Creativity?) โดย เซอร์ เคน โรบินสัน (Sir Ken Robinson) นักการศึกษา นักคิด นักเขียน และผู้นำความคิด มีจำนวนผู้ฟังมากที่สุดตลอดกาล คือกว่า 72 ล้านครั้งจาก 380 ล้านคนทั่วโลก           เขาหวนคืนเวที TED อีกครั้งในปี 2010 ด้วยหัวข้อ มาปฏิวัติการศึกษากัน! (Bring on the Learning Revolution!) และปี…

LEEDS 2023 ปลดปล่อยวัฒนธรรม เทศกาลสร้างสรรค์ กระตุ้นเศรษฐกิจเมือง

          หากคุณชื่นชอบไอเดียสุดบรรเจิดในเทศกาลที่เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบ คงจะเคยเข้าชมหรือติดตามข่าวสารของงานเทศกาลแนวนี้กันมาบ้าง หรือถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนทำงานสายครีเอทีฟ ก็อาจจะเคยเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงานมาแล้ว ไม่ว่าจะในฐานะอาสาสมัคร ศิลปิน หรือผู้ประกอบการ           งานในลักษณะนี้นอกจากจะชักชวนผู้ชมให้เข้ามาเสพงานศิลป์ ดื่มด่ำสุนทรียภาพที่ศิลปินและผู้คนในย่านมาร่วมประกอบร่างสร้างผลงานแล้ว ยังมักจะมีเป้าหมายในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในพื้นที่ หรือถ้าจะให้เจาะลึกลงไปอีกคือกระตุ้น ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ เปิดเวทีให้ผู้ผลิต นักออกแบบ ศิลปิน และผู้บริโภคมาพบกันและสานสัมพันธ์เพื่อสร้างความร่วมมือในอนาคต           โดยส่วนมากงานเหล่านี้เป็นเทศกาลที่เหล่าพาร์ตเนอร์ร่วมกันเนรมิตให้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจจะ 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน เปลี่ยนย่านทั้งย่านให้เป็นลานศิลปะ เป็นดงศิลปิน เป็นชุมทางนักสร้างสรรค์หลากสาขา แต่ที่เมืองลีดส์ (Leeds) ซึ่งตั้งอยู่กลางสหราชอาณาจักร ระดมพลจัดงานใหญ่ ‘LEEDS 2023:…

‘หอศิลป์แสนเมือง’ พื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์กับความฝันผลักดัน ‘แพร่’ เป็นเมืองสร้างสรรค์

‘หอศิลป์แสนเมือง’ พื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์กับความฝันผลักดัน ‘แพร่’ เป็นเมืองสร้างสรรค์

          แสงแดดยามบ่ายแรงกล้า แต่ใต้ถุนโรงหนังเก่าใจกลางจังหวัดแพร่กลับไม่ได้ร้อนระอุเท่าที่คิด มีลมโบกโชยอ่อนๆ พัดผ่านพื้นที่เปิดโล่งที่ถูกจัดสรรเป็นหลากหลายโซน ทั้งในส่วนลานจัดแสดง และห้องเรียนต่างๆ           ทีมงาน The KOMMON เดินเตร่ไปมา บ้างก็ยืนชมภาพวาดสีสดที่ถูกแขวนเรียงรายละลานตาราวกับธงทิวในงานมหรสพ ซึ่งน่าจะเป็นผลงานของเด็กนักเรียนจากคลาสศิลปะ บ้างก็เดินไปชมภาพวาดของบุรุษในเครื่องแต่งกายย้อนยุคสีสันฉูดฉาดบนผนังด้านหน้าตัวอาคาร เขาคือตัวละครดังจากหนังไทยในอดีตเรื่องหนึ่ง ที่ทำให้วลีเด็ด ‘เป็นเมียเราต้องอดทน’ ติดหูผู้ชมทั่วประเทศมาแล้วในยุคนั้น           ที่นี่คือ ‘แสนเมือง ครีเอทีฟ สเปซ’ หรือ ‘หอศิลป์แสนเมือง’ ที่รวมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี การออกแบบ การแสดง และอีกหลากหลายกิจกรรมเข้าไว้ด้วยกัน หากได้ยินเพียงชื่อ อาจชวนให้คิดว่าที่นี่นำเสนอวัฒนธรรมล้านนาแบบขนบนิยม แต่เมื่อมีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิด กลับพบว่า บรรยากาศยังออกแนว ‘ชิคๆ คูลๆ’ ผสมผสานความร่วมสมัยอยู่ไม่น้อย งานสตรีทอาร์ตเก๋ๆ…

สายธารวรรณกรรมเยาวชนในสังคมไทย

สายธารวรรณกรรมเยาวชนในสังคมไทย

          ไม่ว่าคุณจะเป็นหนอนหนังสือหรือไม่ ประสบการณ์ในวัยเยาว์ของเราคงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก           ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิต เชื่อว่า…เราต่างเคยปล่อยใจล่องลอยไปกับการผจญภัยของตัวละครในหน้ากระดาษ ตื่นเต้นกับจักรวาลที่ไม่รู้จักผ่านตัวหนังสือ เรียนรู้โลกและมุมมองของผู้คน ร้องไห้ เจ็บปวด ซับน้ำตา เติบโตและเปลี่ยนผ่านไปพร้อมกับตัวละครที่คอยเอาใจช่วย           ลุ้นไปกับการต่อสู้ด้วยไหวพริบของแฮร์รี่ พอตเตอร์กับสหาย ที่ต้องเผชิญหน้ากับสัตว์ประหลาดและสมุนของคนที่คุณก็รู้ว่าใครในดินแดนแห่งเวทมนตร์ เพิ่มความซับซ้อนในการมองโลกตามวันเวลาที่ผ่านไป พร้อมกับเด็กชายผู้มีแผลเป็นรูปสายฟ้าบนหน้าผาก           ออกค้นหาดินแดนใหม่ เพื่อลงหลักปักฐาน ต่อสู้กับภัยธรรมชาติของฤดูหนาวอันแสนนานเพื่อรอพบกับดอกไม้บานและพืชพันธุ์อันอุดมสมบูรณ์ในฤดูร้อนไปพร้อมกับ ลอรา อิงกัลส์ และครอบครัว           อมยิ้มให้กับบทสนทนาที่เรียบง่ายไร้เดียงสาระหว่างสุนัขจิ้งจอกกับ ‘เจ้าชายน้อย’ ที่เดินทางแวะเวียนมาเยี่ยมเยือน ‘ถ้าเธอเคยมาตอนบ่ายสี่โมง ประมาณบ่ายสามโมงฉันก็จะเริ่มมีความสุขแล้ว’           แต่วันหนึ่ง…ความทรงจำเหล่านั้นก็ถูกนำไปเก็บไว้ในซอกหลืบ ในขณะที่เราใช้ชีวิตเพื่อเรียนหนังสือ ทำงาน แสวงหาปัจจัยสี่ ห้า หก มาดำรงชีพ แก้ไขปัญหาที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก