ปัทมา เจริญกรกิจ

ปัทมา เจริญกรกิจ

นักหัดเขียนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ สถาปัตยกรรม ชอบเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเชื่อในการเรียนรู้จากประสบการณ์

20 ปี ของความสุขกับการเดินทางของกะทิ และงามพรรณ เวชชาชีวะ

20 ปี ของความสุขกับการเดินทางของกะทิ และงามพรรณ เวชชาชีวะ

          “แม่ไม่เคยบอกว่าจะกลับมา” คือคำโปรยบทแรกของหนังสือ ‘ความสุขของกะทิ’ ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2546 เรื่องราวของเด็กหญิงกะทิวัย 9 ขวบ ที่อาศัยอยู่กับคุณตาคุณยายที่บ้านริมคลอง ภาพในบ้านไม่มีรูปของแม่ ไม่มีใครพูดถึงแม่ และกะทิจำหน้าแม่ไม่ได้แล้ว แต่กะทิก็คิดถึงแม่ทุกวัน จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อกะทิรู้ว่าแม่ป่วยและกำลังจะจากไป… เด็กคนหนึ่งต้องเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ในชีวิต แต่เธอก้าวผ่านเหตุการณ์ทั้งสุขและทุกข์ ความผูกพันและการพลัดพราก ด้วยกำลังใจและความรักจากคนรอบข้าง           เสน่ห์ของนวนิยายเรื่องนี้ คือ กลวิธีเล่าเรื่องด้วยภาษาเรียบง่ายแต่กินใจ ผู้เขียนค่อย ๆ เผยปมปัญหาผ่านมุมมอง รายละเอียด และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แทรกไว้อย่างละเมียดละไม เรื่องราวที่ไต่ระดับความเข้มข้น พาอารมณ์ผู้อ่านให้ติดตาม ร่วมประสบการณ์ และอิ่มเอมไปกับรสชาติของชีวิตที่แม้จะเศร้าแต่ก็งดงาม            หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2549 มีการแปลและเผยแพร่ในฉบับภาษาต่างประเทศมากมาย หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘ความสุขของกะทิ’…

ลองลิ้มชิมรสประวัติศาสตร์สังคมไทยในจานอาหาร กับอาสา คำภา

ลองลิ้มชิมรสประวัติศาสตร์สังคมไทยในจานอาหาร กับอาสา คำภา

          ‘มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง…’ คือความท่อนหนึ่งในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ซึ่งปรากฏในแบบเรียน และกลายเป็นเมนูภาพจำหนึ่งของอาหารไทยที่มีชื่อเสียง ถ้าจะพูดถึงประวัติของเมนูนี้คงต้องย้อนไปถึงการรับอิทธิพลของมุสลิมตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังมีอาหารไทยลือชื่ออีกหลายจานที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรม เช่น ผัดไทย ซึ่งมีที่มาจากเมนูก๋วยเตี๋ยวผัดของชาวจีนโพ้นทะเล           ตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของ ‘รูปทิพย์’ แห่งความเป็นไทยผ่านอาหารที่ถูกกำหนดผ่านสนามของการต่อสู้ ต่อรอง และช่วงชิงความหมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน           อาสา คำภา นักวิจัยประจำ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทดลองอธิบายเส้นทางของอาหารไทยในประวัติศาสตร์ กระตุกต่อมความสงสัยว่าอาหารไทยแท้คืออะไรกันแน่ และเบื้องหลังจานอาหารที่เราคุ้นเคยกันดี แอบแฝงการครอบงำและบงการความคิดเรื่องการกินอยู่บ้างหรือไม่           ความคิดข้างต้นเป็นที่มาของหนังสือ รสไทย(ไม่)แท้: ถอดรูปทิพย์อาหารไทยในสนามการเมืองวัฒนธรรม ซึ่งปรับมาจากงานวิจัยวิชาการให้กลายเป็นเนื้อหาย่อยง่าย อ่านอร่อย ที่เราอยากให้คุณได้ลิ้มลองผ่านบทสนทนานี้ จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร           หนังสือเล่มนี้ปรับปรุงมาจากงานวิจัยภายใต้ ‘แผนการพัฒนาฐานข้อมูลวัฒนธรรมอาหารไทยสู่การเป็นทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์…

เศรษฐศาสตร์ความสุข มองเรื่องหัวใจในมิติตัวเลข กับ ณัฐวุฒิ เผ่าทวี

เศรษฐศาสตร์ความสุข มองเรื่องหัวใจในมิติตัวเลข กับ ณัฐวุฒิ เผ่าทวี

          เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มีสมมติฐานว่ามนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ (Homo Economicus) ที่มีเหตุผลมากพอในการเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร และสามารถจัดการทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ขณะที่เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Economics) และเศรษฐศาสตร์ความสุข (Happiness Economics) เป็นเศรษฐศาสตร์กระแสรองที่นำทฤษฎีในสาขาอื่น เช่น จิตวิทยา และพฤติกรรมศาสตร์ มาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ร่วมด้วย แนวทางเหล่านี้มองว่ามนุษย์ไม่ได้สมบูรณ์แบบและตัดสินใจทุกอย่างด้วยเหตุและผลเสมอไป แต่มีความอ่อนไหวตามธรรมชาติ           เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เริ่มได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักของสังคมมากยิ่งขึ้น เมื่อ ริชาร์ด เทย์เลอร์ (Richard Thaler) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2017 จาก ‘ทฤษฎีผลักดัน’ (Nudge Theory) เขาใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาอธิบายว่า เราสามารถออกแบบทางเลือกหรือสร้างสถานการณ์เพื่อโน้มน้าวให้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างไร ทฤษฎีดังกล่าวถูกนำไปปรับใช้กับแผนการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย ช่วยลดปัญหาทางสังคม ไปจนถึงการออกกฎระเบียบและนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ…

คุยกับ ธนา อุทัยภัตรากูร สถาปนิกชุมชน‘อาศรมศิลป์’ เรื่องกระบวนการออกแบบพื้นที่เรียนรู้

เบื้องหลังการดีไซน์พื้นที่เรียนรู้แบบ Tailor-made ฉบับสถาปนิกชุมชน

         หากถามว่าพื้นที่การเรียนรู้ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร คำตอบคงไม่ใช่เพียงการมีอาคารสวยๆ แต่ควรจะเป็นสภาพแวดล้อมซึ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสอดรับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก ปัจจุบัน มีแหล่งเรียนรู้สาธารณะหลายแห่งที่มีเอกลักษณ์และได้รับการออกแบบโดยผ่านการรับฟังความเห็นและทำงานร่วมกับผู้ใช้งาน เช่น หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ), อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต, บ้านหลวงราชไมตรี จังหวัดจันทบุรี, ห้องสมุดเก๋งเรือลอยฟ้าท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร ฯลฯ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์’          โจ้ – ธนา อุทัยภัตรากูร สถาปนิกและอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ได้บอกเล่าถึงกลวิธีในการทำงานที่ไม่ใช่แค่นั่งเขียนแบบอยู่ในสตูดิโอ แต่ลงพื้นที่คลุกคลีกับผู้คนในชุมชนอย่างใกล้ชิด โดยมีหัวใจสำคัญคือกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ จนออกมาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีตัวตนแบบไม่เหมือนใคร สถาปนิกเป็นมากกว่าคนออกแบบสิ่งก่อสร้าง          มุมมองคนทั่วไปอาจคิดว่าสถาปนิกมีหน้าที่ออกแบบอาคารหรือพื้นที่ต่างๆ ให้มีความสวยงามหรือมีลายเซ็นเป็นของตัวเอง…

‘สวนเงินมีมา’ สรรค์สร้างพื้นที่ ‘จิตวิญญาณใหม่’ เปลี่ยนโลกเก่าใบเดิมให้น่าอยู่

‘สวนเงินมีมา’ ร้านหนังสือกลางย่านเก่า ชวนผู้คนค้นหา ‘จิตวิญญาณใหม่’

          กว่า 2 ทศวรรษแล้ว ที่ ‘สวนเงินมีมา’ ทำ ‘กิจการ’ พิมพ์และจำหน่ายหนังสือ ควบคู่ไปกับ ทำ ‘กิจกรรม’ เพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยมีสุขภาพทางกาย ปัญญา และใจที่สมบูรณ์แข็งแรง แม้บางคนจะรู้สึกว่าเนื้อหาในหนังสือมักเป็นเรื่องลึกซึ้งและเข้าใจได้ยาก แต่กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ยิ่งโลกแห่งวัตถุวิวัฒน์ไปไกล การพัฒนามิติด้านในของมนุษย์ก็ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว           วันนี้ สวนเงินมีมาได้ขยายขอบข่ายการทำงานในรูปแบบชุมชนและพื้นที่การเรียนรู้ ที่เรียกว่า ‘จิตวิญญาณใหม่ : New Spirit’ ด้วยความเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถช่วยกันเปลี่ยนแปลงโลกใบเดิมให้น่าอยู่กว่านี้ได้ สารพัดกิจกรรมสำหรับนักอ่านถูกจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ร้านหนังสือบริเวณหลังวัดราชบพิธฯ และนอกสถานที่ นี่อาจจะเป็นประตูอีกบานหนึ่งที่นำพาลูกค้าหน้าใหม่ ให้เข้ามารู้จักกับเรื่องราวนอกกระแสที่อาจไม่เคยสนใจมาก่อน           The KOMMON ชวนมาคุยกับ มิ – วรนุช…

โลกเสมือนและเมตาเวิร์ส การศึกษาแห่งอนาคตหรือแฟชั่นทางเทคโนโลยี

          เมื่อไม่นานมานี้เทคโนโลยีโลกเสมือนกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในแทบทุกแวดวง และยิ่งถูกจับตามอง เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊กประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น ‘เมตา’ (Meta) พร้อมกับเดินหน้าสู่โลกเมตาเวิร์ส (Metaverse) อย่างเต็มตัว ด้วยความเชื่อมั่นว่าเมตาเวิร์สจะกลายเป็นยุคถัดไปของโลกอินเทอร์เน็ต           บทวิเคราะห์จาก Bloomberg Intelligence ระบุว่า เมตาเวิร์สจะมีมูลค่าตลาดทั่วโลกเพิ่มเป็น 800,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2024 จาก 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าเมตาเวิร์สจะเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของทุกคน และจะเป็นระบบนิเวศใหม่ที่พลิกมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา           The KOMMON ชวนไปคุยกับ ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล) เพื่อทำความรู้จักกับเมตาเวิร์สและเทคโนโลยีโลกเสมือนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และหาคำตอบว่าสิ่งนี้จะมีอิทธิพลต่อการพลิกโฉมการศึกษาและการเรียนรู้ในอนาคตจริงหรือไม่ และอย่างไรบ้าง…

สื่อสารประวัติศาสตร์ให้ป๊อปปูลาร์สนุกชวนคิดกับภาณุ ตรัยเวช – “เราต้องอนุญาตให้สังคมตั้งคำถามกับทุกเรื่อง”

          ภาณุ ตรัยเวช คือ อดีตตัวแทนนักเรียนไทยที่ไปแข่งขันวิชาฟิสิกส์โอลิมปิกถึง 3 สมัย เขาสอบได้อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวง ก่อนบินลัดฟ้าไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และได้รับปริญญาเอกด้านอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           ในอีกแง่มุมหนึ่ง ภาณุ เป็นนักเขียนที่มีผลงานนิยายและเรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ถึง 3 สมัย[1] รวมถึงผลงานเขียนแนวประวัติศาสตร์เล่มแรก ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หนังสือเนื้อหาเข้มข้น ขนาด 480 หน้า ซึ่งได้รับกระแสการตอบรับที่ดี ก่อนจะต่อยอดไปสู่เรื่องย่อฉบับการ์ตูนที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน นอกจากนี้ ภาณุ ยังผลิตผลงานเขียนแนวประวัติศาสตร์อีกหลายเล่ม เช่น America First รบเถิดอรชุน…

คำให้การของ ‘โจรสลัดแห่งวงการหนังสือ’ กิตติพล สรัคคานนท์ ผู้อยากให้ทุกคนเข้าถึงการอ่าน

กิตติพล สรัคคานนท์

          ธุรกิจสิ่งพิมพ์ในยุคดิจิทัลไม่ต่างจากเรือลำน้อยที่ต้องเผชิญคลื่นลมบ้าคลั่งกลางมหาสมุทร ร้านหนังสือและสำนักพิมพ์มากมายล้มหายตายจากไปจำนวนมาก ทว่าก็มีผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ช่วยสร้างสีสันและสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ผู้อ่านได้เลือกเสพหนังสือที่มีเนื้อหาหลากหลาย           เช่นกันกับการเกิดขึ้นของร้านหนังสืออิสระ Books & Belongings ที่รวบรวมหนังสือคลาสสิก ตำราวิชาการ หรือหนังสือความรู้เชิงทฤษฎี และ สำนักพิมพ์ 1001 ราตรี (1001 nights editions) ซึ่งเน้นตีพิมพ์งานกวีนิพนธ์ ความเรียงด้านปรัชญา และเรื่องสั้น ทั้ง 2 ธุรกิจก่อตั้งโดย กิตติพล สรัคคานนท์ ผู้คร่ำหวอดในวงการหนังสือมายาวนาน ทั้งบทบาทการเป็นนักเขียน คอลัมนิสต์ และผู้ออกแบบปกหนังสือ           กิตติพล สรัคคานนท์ ยังมีส่วนร่วมผลักดันโครงการต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพหนังสือและสนับสนุนให้ผู้คนเข้าถึงการอ่าน เช่น ‘รางวัลปีศาจ’…

จูงใจคนด้วยกลไกเกม ล้วงลึกเบื้องหลังความสนุกคลุกความรู้กับ ตรัง สุวรรณศิลป์

จูงใจคนด้วยกลไกเกม ล้วงลึกเบื้องหลังความสนุกคลุกความรู้กับ ตรัง สุวรรณศิลป์

          เคยสังเกตไหมว่ามีแต่มนุษย์เท่านั้นที่ชอบเล่น ‘เกม’ ที่เป็นการแข่งขันหรือการเล่นที่มีกฎ กติกา นับตั้งแต่แบบเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อน ยิ่งไปกว่านั้นหลายคนชื่นชอบการเล่นเกมถึงกับยอมอดตาหลับขับตานอน กระทั่งยอมเสียเงินเพื่อแลกกับการได้สนุกสนาน เพลิดเพลิน ไปกับโลกสมมติในเกม นำมาสู่การศึกษาเทคนิคของการออกแบบเกม เพื่อหาปัจจัยที่สร้างแรงจูงใจ และทดลองนำมาปรับใช้ในเรื่องอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า เกมมิฟิเคชัน (Gamification)           The KOMMON ไปคุยถึงเบื้องหลังความคิด กลไกในเกม และการนำไปปรับใช้ในบริบทอื่นๆ กับ ตรัง สุวรรณศิลป์ อดีตวิศวกรแท่นขุดเจาะน้ำมัน แชมป์บอร์ดเกม Catan[1] คนแรกของประเทศไทย ผู้ออกแบบบอร์ดเกม ‘จิตตนคร’ นักวางแผนกลยุทธ์องค์กร เจ้าของเพจเฟซบุ๊กเรื่องบอร์ดเกม ‘Beyond Board’ และ ‘Growth Game’ เพจที่พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเกมมิฟิเคชันและการพัฒนาตนเอง และผู้เขียนหนังสือ…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก