สุธาสินี เลิศวัชระสารกุล

สุธาสินี เลิศวัชระสารกุล

นักเขียนอิสระที่ชอบพูดคุยกับผู้คน สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมอาหาร และการเดินทางเป็นพิเศษ ทุกวันนี้พยายามหาเวลาให้ตัวเองได้ออกเดินทางทั้งภายนอกและภายใน

Forest Bathing ผ่อนคลายความเครียดและเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ด้วยการอาบป่า

Forest Bathing ผ่อนคลายความเครียดและเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ด้วยการอาบป่า

          ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการดำเนินชีวิต แต่ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเจริญรุดหน้าได้กลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ที่ทำให้เราต้องแข่งขันกันอย่างหนักหน่วงมากขึ้น จนกลายเป็นสาเหตุหลักของความเคร่งเครียดกดดัน ซึ่งหลายครั้งนำไปสู่อาการป่วยทางใจที่ยากแก่การเยียวยารักษา การดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงและเสริมภูมิคุ้มกันทางใจให้พร้อมรับมือกับปัจจัยลบเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยสำหรับคนทุกช่วงวัย             เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพและผ่อนคลายความเครียด แนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกก็คือ Forest Bathing หรือ การอาบป่า ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1980 โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของแดนอาทิตย์อุทัย ได้นำเสนอคำว่า ‘ชินรินโยกุ’ (Shinrin-Yoku) ที่แปลว่าการอาบป่าขึ้น เพื่อใช้อธิบายถึงแนวทางธรรมชาติบำบัดที่มุ่งเน้นการเปิดประสาทสัมผัสรอบด้านให้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ            ในเวลาต่อมาก็มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นทั้งจากโลกฝั่งตะวันตกและตะวันออกที่ยืนยันว่าการออกไปใช้ชีวิตท่ามกลางพื้นที่สีเขียว ไม่ว่าจะเป็นป่าหรือสวนสาธารณะใกล้บ้าน ล้วนส่งผลดีต่อสุขภาพและให้ประโยชน์แก่มนุษย์ในหลายแง่มุม ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีผู้เชี่ยวชาญด้าน ‘Forest Bathing’ และ ‘Forest Therapy’ เกิดขึ้น และนำเอาแนวคิดของการอาบป่าไปต่อยอดใช้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ และพัฒนาตนเอง โดยผสมผสานกับศาสตร์ที่หลากหลาย ดังตัวอย่างต่างๆ ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ การอาบป่าส่งผลดีต่อสุขภาพกาย…

We Watch กับการสร้างพลเมืองตื่นรู้ สู่ประชาธิปไตยที่แข็งแรง

We Watch กับการสร้างพลเมืองตื่นรู้ สู่ประชาธิปไตยที่แข็งแรง

          แนวคิดการสร้าง ‘พลเมืองตื่นรู้’ หรือ ‘Active Citizen’ หมายถึง การพัฒนาพลเมืองให้มีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่กำลังดำเนินไปในสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ฯลฯ และกระตือรือร้นในการขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น ภายใต้กรอบของการเคารพในความแตกต่างหลากหลายของผู้คน รวมถึงมีความเข้าใจระบอบประชาธิปไตย มีจิตสำนึกสาธารณะ และยึดมั่นในความยุติธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมที่ทุกคนในสังคมจะได้รับร่วมกัน           สถานศึกษา ครอบครัว สังคม และสื่อแขนงต่างๆ ล้วนแต่มีอิทธิพลในการปลูกฝังการเป็นพลเมืองตื่นรู้ให้กับเด็กและเยาวชน หลักสูตรการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันของหลายประเทศ จึงมีการสอดแทรกแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองตื่นรู้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา ไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมนอกห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมทางการเมือง และกิจกรรมอื่นๆ ตามความสนใจ ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กและเยาวชนซึมซับแนวคิดการเป็นพลเมืองตื่นรู้ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม          …

ปีแห่ง AI กับก้าวต่อไปของอาชีพสายคอนเทนต์

ย่างก้าวต่อไปของ Generative AI กับอาชีพสายคอนเทนต์

          ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่เทคโนโลยี AI สร้างความตื่นตาตื่นใจ ประหลาดใจ ชวนตั้งคำถาม อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อแทบทุกวงการ บทความจากสำนักข่าวและเว็บไซต์ต่างๆ ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไว้อย่างหลากหลาย เช่น            “2023 คือ ปีที่เราทดลองเล่นกับ AI แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป” (ABC News)            “2023 คือ ปีที่ AI กลืนกินอินเทอร์เน็ต” (The New Yorker)            “สถานะของ AI ในปี 2023: การผงาดของ Generative AI” (Mckinsey & Company)          …

Saturday School โรงเรียนวันเสาร์ที่อยากเห็นเด็กไทยค้นพบศักยภาพสูงสุดของตนเอง

Saturday School โรงเรียนวันเสาร์ที่อยากเห็นเด็กไทยค้นพบศักยภาพสูงสุดของตนเอง

          หากพูดถึง Edupreneur หรือกลุ่มนักขับเคลื่อนการศึกษาด้วยนวัตกรรมที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึง Saturday School Foundation หรือมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ ขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ องค์กรด้านการศึกษาแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2557 โดยยีราฟ – สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ซึ่งจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ตามสายงานที่เรียนมาอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนจะเริ่มตั้งคำถามกับตนเองว่าสิ่งที่เขาอยากทำจริงๆ คืออะไรกันแน่ และค้นพบคำตอบว่าเขาอยากทำงานที่ได้ช่วยแก้ปัญหาสังคม โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่ถือว่าเป็นรากฐานของทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย           เมื่อคิดได้ดังนั้นยีราฟจึงไปสมัครเป็นครูอาสาในโครงการของ Teach for Thailand องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในประเทศไทย การตัดสินใจครั้งนั้นทำให้เขามีโอกาสได้ทำงานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งย่านบางนาเป็นเวลา 2 ปี เมื่อได้คลุกคลีกับนักเรียนซึ่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจน สภาพแวดล้อมทางบ้านไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่เท่าไรนัก ยีราฟจึงเกิดไอเดียในการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ด้วยความตั้งใจอยากให้อนาคตของชาติได้ค้นพบศักยภาพสูงสุดของตนเองผ่านการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง           เขาเริ่มจากการจัดฐานกิจกรรมในวันวิทยาศาสตร์ ต่อยอดไปสู่การพานักเรียนออกไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน และชักชวนเพื่อนๆ ที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายมาร่วมกันเป็นครูอาสาทุกวันเสาร์ เพื่อสอนวิชาที่แตกต่างจากวิชาหลักในห้องเรียน โดยเป็นวิชาที่เด็กๆ เลือกสรรมาแล้วว่าพวกเขาอยากเรียนรู้สิ่งนี้จริงๆ…

Creatorsgarten ชุมชนคนเนิร์ดที่สนุกกับไอเดียสร้างสรรค์ สวนสวรรค์ของ Creative Technologist

Creatorsgarten กลุ่มคนเนิร์ดที่เชื่อว่าการแชร์ความรู้เปลี่ยนแปลงสังคมได้

          ย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อน เด็กชายวัย 15 ปีคนหนึ่งตัดสินใจหันหลังให้กับการศึกษาในระบบ เพื่อทุ่มเทความสนใจกับงานสายโปรแกรมเมอร์ที่เขาชื่นชอบ และเอาจริงเอาจังถึงขั้นเดินทางไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา นั่นคือเรื่องราวของ ภูมิ-ภูมิปรินทร์ มะโน หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Creatorsgarten ซึ่งนอกจากจะมุ่งมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองแล้ว ในช่วงวัยค้นหาตัวเอง ภูมิยังเข้าไปมีส่วนร่วมกับหลากหลายกิจกรรมในแวดวงโปรแกรมเมอร์ ทั้ง Meetup และค่ายต่างๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ อย่างเช่นค่าย Junior Webmaster Camp ที่จัดโดยชมรมเยาวชนผู้ดูแลเว็บไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาได้พบกับผู้คนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน จนนำไปสู่การสร้างเครือข่ายและริเริ่มทำโปรเจกต์ที่น่าสนใจมากมาย           การเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ภูมิได้รู้จักกับ ปั๊บ-ชยภัทร อาชีวระงับโรค เพื่อนรุ่นเดียวกันที่มีขอบเขตความสนใจหลากหลาย ตั้งแต่ภาษาศาสตร์ไปจนถึงโลกอวกาศ ปั๊บเคยเป็นนักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการ ที่ได้รับโควตาเข้าศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่สุดท้ายเขาก็ตัดสินใจเลือกทางเดินอื่นที่ตรงกับแนวทางการเรียนรู้ในแบบที่ต้องการมากกว่า           เมื่อได้ร่วมงานกันทั้งคู่ก็พบว่าพวกเขามีความสนใจร่วมกันคือการนำเทคโนโลยีมาสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่สังคม…

วี-วิภาวี คุณาวิชยานนท์ อยากให้สังคมรู้ว่าภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องไกลตัว

          มูลนิธิความคิดสร้างสรรค์เพื่อรับมือภัยพิบัติ หรือ Design for Disasters Foundation (D4D) ก่อตั้งขึ้นในปี 2553 โดยการริเริ่มของ วี-วิภาวี คุณาวิชยานนท์ นักออกแบบที่ต้องการสร้างความตระหนักให้คนในสังคมเห็นว่าภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราทุกคนจึงควรช่วยกันหาวิธีรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้อย่างยั่งยืน โดยช่วงแรกทีมงานต่างมารวมตัวกันในรูปแบบเครือข่ายอาสาสมัครจากหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ นักออกแบบ สถาปนิก นักธุรกิจ ก่อนจะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิสำเร็จในปี 2563           ตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา Design for Disasters ทำโครงการเพื่อสังคมมาแล้วกว่า 40 โครงการ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ รวมถึงปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน และก้าวสำคัญล่าสุดคือ การลงพื้นที่ทำงานกับเด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางในชุมชนใต้สะพานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ด้วยความเชื่อว่าการพัฒนาประเทศต้องเริ่มจากการพัฒนาคน          …

Museum of Sex ตอบสนองความใคร่(รู้)เรื่องเพศ ในมิติประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการ และวัฒนธรรม

Museum of Sex พื้นที่เรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศใจกลางนิวยอร์ก

          เมื่อพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกทางเพศของมนุษย์ หลายคนมักมองว่าหัวข้อนี้เป็นเรื่องน่าอายที่ควรพูดคุยกันเฉพาะในที่ลับ ทั้งที่จริงๆ แล้วประเด็นนี้มีมิติที่หลากหลายและกระตุ้นความสนใจของผู้คนได้มากทีเดียว เพียงแต่เรามักสงวนท่าทีและไม่กล้าพูดเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมาเท่าไรนัก ทำให้หลายครั้งเกิดความไม่เข้าใจกันตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับสังคม หรือบางทีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศก็ถูกทำให้เลือนหายไป โดยไม่มีใครเก็บรวบรวมเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้เป็นกรณีศึกษา           ด้วยเหตุนี้ แดเนียล กลัค (Daniel Gluck) จึงก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อความหลากหลายทางเพศ Museum of Sex ขึ้น เมื่อเดือนตุลาคม 2002 ที่ถนนฟิฟท์ อเวนิว (Fifth Avenue) ใจกลางนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นพื้นที่เก็บรักษาและนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการ และประเด็นทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับเรื่องเพศของมนุษย์           หลังเปิดทำการมากว่า 20 ปีและจัดนิทรรศการหมุนเวียนมาแล้วมากกว่า 40 งาน ก็มีข้อมูลอัปเดตล่าสุดที่น่าตื่นเต้นคือ ในฤดูใบไม้ผลิปี 2023…

PRACTICAL school of design โรงเรียนสอนการออกแบบที่คนธรรมดาก็เรียนรู้ได้

PRACTICAL school of design โรงเรียนสอนการออกแบบที่คนธรรมดาก็เรียนรู้ได้

          PRACTICAL school of design (PS±D) นิยามตัวเองไว้ว่าที่นี่คือ ‘พื้นที่ทดลองเรียนรู้ด้านการออกแบบสำหรับทุกคน’ พวกเขาจึงพยายามเชื่อมโยงการออกแบบเข้ากับทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และนำเสนอโปรแกรมที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนหลากหลายช่วงวัย เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเรื่อง และคนทั่วไปก็สามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องการออกแบบได้ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นคนที่มีพรสวรรค์หรือความเชี่ยวชาญด้านศิลปะเท่านั้น ในทุกๆ คอร์ส ทางสถาบันจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีบรรยากาศผ่อนคลายเป็นมิตร ให้ทุกคนสบายใจที่จะถ่ายทอดความคิดของตัวเองออกมา           โรงเรียนสอนด้านการออกแบบแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักออกแบบ 6 คน ได้แก่ สันติ ลอรัชวี, กนกนุช ศิลปวิศวกุล, อรรฆพงศ์ ผลประเสริฐ, ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร, จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ และรมิตา บุราสัย ซึ่งพวกเขาต่างมีบทบาทในวงการที่หลากหลาย บ้างก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย บ้างก็เป็นคิวเรเตอร์ (Curator)…

จีระวุฒิ เขียวมณี – ‘Bibli’ เผยเทคนิคบุกเบิกนิยายแปลพันธุ์เอเชียให้คึกคัก ปลุกตลาดนักอ่านเจน Z

Bibli สำนักพิมพ์ที่ทำให้คนรุ่นใหม่กลับมาอ่านนิยายแปลอีกครั้ง

          ท่ามกลางกระแสซบเซาของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ที่บางคนใช้คำสะเทือนใจถึงขั้นบอกว่าสื่อประเภทนี้กำลังจะตาย จี-จีระวุฒิ เขียวมณี และบิ๊ก-วีระวัฒน์ เตชะกิจจาทร ตัดสินใจก่อตั้งสำนักพิมพ์ Biblio ขึ้นในเดือนมีนาคม 2563 โดยแบ่งออกเป็นสองสำนักพิมพ์ย่อย ได้แก่ Bibli นิยายแปลจากเอเชีย และ Be(ing) หนังสือเกี่ยวกับความรู้ แนวคิดการใช้ชีวิตและการทำงาน จากนั้นจึงมี Beat นิยายตะวันตก และจากนั้นหนึ่งปี BiLi นิยายวาย จึงตามมาเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมาย           จี-จีระวุฒิ บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นว่า “ก่อนทำสำนักพิมพ์ Biblio ผมอยู่ในวงการสื่อสิ่งพิมพ์มา 18-19 ปี มีทั้งประสบการณ์ทำนิตยสารและสำนักพิมพ์ในยุคเฟื่องฟู เราเลยเห็นวัฏจักรหลายๆ อย่างของสื่อสิ่งพิมพ์ จนมาถึงเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วที่เราเริ่มทำ…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก