กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล

แอดมินเพจ WanderingBook และสื่อมวลชน

‘ให้มันจบที่รุ่นเราฯ’ ความฝันที่ต้องสานต่อให้จบ

‘ให้มันจบที่รุ่นเราฯ’ ความฝันที่ต้องสานต่อให้จบ

          เชื่อว่าหลายคนมีคำถามคล้ายผมว่าการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลสืบทอดอำนาจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ของนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่เกิดขึ้นกระจายไปในหลายจังหวัดในช่วงปี 2563 นั้นจะจบลงอย่างไร ถ้าไม่เจอกับการระบาดของโควิด-19 เสียก่อน           จะจบหรือไม่จบในรุ่นเราเป็นเรื่องเกินความพยายามจะตอบ แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือเป็นการเคลื่อนไหวที่เหนือความคาดหมาย คำถามที่ว่านักเรียน นิสิต นักศึกษาหายไปไหนจากการเมืองไทยเป็นสิ่งที่ถามกันมากว่า 4 ทศวรรษนับตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏอย่างท้าทาย แหลมคม และลงลึกในระดับโครงสร้างสังคม           การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มีสโลแกนสั้นๆ แต่ทรงพลังว่า ‘ให้มันจบที่รุ่นเรา’           สื่อนัยว่าโครงสร้างอันบิดเบี้ยวพิกลพิการที่ดำรงอยู่ในสังคมการเมืองไทยมาเนิ่นนานต้องจบในรุ่นของพวกเขา มรดกบาปต้องไม่ถูกส่งทอดต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลานอีก           ‘ให้มันจบที่รุ่นเรา: ขบวนการเยาวชนไทยในบริบทสังคมและการเมืองร่วมสมัย’ หนังสือที่รวบรวมเส้นเรื่อง ปัจจัยการก่อตัว แนวทางการเคลื่อนไหว ฯลฯ เปรียบได้กับการบันทึกประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในปี…

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ห้องแล็บของนักมานุษยวิทยาก็คือชีวิตของผู้คน

ยุกติ มุกดาวิจิตร: ห้องแล็บของนักมานุษยวิทยาก็คือชีวิตของผู้คน

          มนุษย์คืออะไร? คำถามนี้ตอบได้หลายมิติ อย่างน้อยในมุมวิทยาศาสตร์ก็ให้คำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนไว้แล้ว คำถามที่ยากกว่านั้นคือ เราจะเข้าใจมนุษย์ได้อย่างไร? ออกจะหาคำตอบได้ลำบากกว่า เป็นปริศนาลึกลับที่มิได้มีคำตอบเดียว           มีศาสตร์หนึ่งที่พยายามทำความเข้าใจมนุษย์ ตั้งแต่รูปแบบการใช้ชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม พิธีกรรม หรือปทัสถานร่วมกันของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มันชื่อว่า ‘มานุษยวิทยา’ วิชาที่สำคัญขึ้นทุกขณะท่ามกลางการส่งเสริมการเรียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ           การอยู่กับความหลากหลายจำนวนมากซึ่งบางอย่างเราไม่คุ้นเคย ไม่เข้าใจ มันง่ายที่เราจะหวาดระแวงหรือผลักสิ่งที่ต่างจากเราให้ถอยห่างออกไป จะไม่เป็นเช่นนั้นได้อย่างไรล่ะ ในเมื่อ ‘คนพวกนั้น’ ชอบทำอะไรแปลกๆ ไม่เหมือนเรา ใช้ภาษาไม่เหมือนเรา เป็นตัวประหลาด หรือเป็นภัยต่ออุดมการณ์ที่เรายึดถือ           แต่ ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า มันมีคำอธิบายที่ฟังแล้ว ‘เมกเซนส์’ อยู่…

ตรวจสอบชีวิตบน ‘รถด่วนขบวนปรัชญา’

ตรวจสอบชีวิตบน ‘รถด่วนขบวนปรัชญา’

          “The unexamined life is not worth living”           “ชีวิตที่ไม่ได้รับการตรวจสอบย่อมไม่คู่ควรที่จะมีชีวิต”           ถ้อยคำที่โด่งดังที่สุดของ ‘โสเครตีส’ นักปรัชญาผู้ไม่เคยเขียนงานใดๆ ทิ้งไว้ โลกรู้จักเขาผ่านงานของลูกศิษย์-เพลโต เป็นหลัก ทำให้ต้องเถียงกันมากมายว่าตกลงแล้วโสเครตีสพูดหรือเพลโตพูดผ่านปากโสเครตีสกันแน่           มันค่อนข้างเชยอยู่หน่อยๆ เวลาพูดถึงหนังสือปรัชญาที่มีชื่อโสเครตีสแล้วต้องยกคำพูดนี้มาประดับ แต่ยกมาเพราะผมเห็นว่าเป็นประโยคที่สรุปใจความของหนังสือ ‘The Socrates Express: In Search of Life Lessons from Dead Philosophers’ หรือ ‘รถด่วนขบวนปรัชญา’ ของ เอริก ไวเนอร์ (Eric Weiner) ได้ครบถ้วน           ปัจจุบันมีหนังสือแนวปรัชญาได้รับการตีพิมพ์มากขึ้น ผมแบ่งออกเป็น 2…

‘พุทธศาสนาแบบเป็นวิทยาศาสตร์ฯ’ เพราะพุทธไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้น

‘พุทธศาสนาแบบเป็นวิทยาศาสตร์ฯ’ เพราะพุทธไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้น

สังคมไทยถูกอบรมบ่มสอนว่าพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์ ช่วยสร้างความภูมิอกภูมิใจในศาสนาพุทธของคนไทยมิใช่น้อย ถึงขนาดกล่าวว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาถูกค้นพบมาก่อนแล้วเมื่อ 2,500 ปีก่อน ซ้ำยังมีความละเอียดลึกซึ้งกว่า ‘พุทธศาสนาแบบเป็นวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย การสืบสวนค้นคว้าทางประวัติศาสตร์’ โดยทวีศักดิ์ เผือกสม จะทำให้เราเห็นว่าความเชื่อข้างต้นมีเหตุปัจจัยทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาเป็นเงื่อนไขของการสร้างมันขึ้นมาอย่างไร ศาสนาพุทธแบบเป็นวิทยาศาสตร์เพิ่งถือกำเนิดขึ้นเพียงร้อยกว่าปีในสังคมไทย วิวาทะระหว่างปัญญาชนพุทธและมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ก็มีส่วนไม่น้อยต่อสิ่งนี้ อาจบางทีการรู้ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์จะทำให้เราเข้าใจศาสนาพุทธแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ได้ดีขึ้น

ดาราณี ทองศิริ: ‘เฟมินิสม์’ ความมุ่งมาดปรารถนาของผู้ก่อกวนความปกติ (ที่ไม่ปกติ)

ดาราณี ทองศิริ: ‘เฟมินิสม์’ ความมุ่งมาดปรารถนาของผู้ก่อกวนความปกติ (ที่ไม่ปกติ)

          ก่อนหน้านี้ ดาราณี ทองศิริ ผู้ก่อตั้ง Feminista และผู้แปลหนังสือ ‘เฟมินิสม์เป็นของทุกคน การเมืองแห่งความมุ่งมาดปรารถนา’ หรือ ‘Feminism is for Everybody: Passionate Politics’ ของเบลล์ ฮุกส์ เคยต่อว่ากลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมให้แก่คนเพศหลากหลาย เธอคิดว่าชีวิตคู่ของตนดีงามอยู่แล้ว ไม่ควรมีใครออกมาโวยวายกับเรื่องไม่เข้าเรื่องจนทำให้เธอและคู่ของเธอหรือของใครต้องถูกจับจ้องจากสังคม           ถึงวันนี้ เธอเข้าใจแล้วว่าทำไมการเรียกร้องครั้งนั้นจึงชอบธรรม ควรทำ และยังต้องทำต่อ เพราะการรื้อถอน ‘ระบอบชายเป็นใหญ่’ (Patriarchy) เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งเวลา ความอดทน และพลังงาน           ดาราณีนิยามตัวเองเป็น ‘เฟมินิสต์’ คำที่สร้างปฏิกิริยาทางความคิดความรู้สึกได้มากมายขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ฟัง โดยมากมักออกไปทางลบ เพราะเฟมินิสต์คือมนุษย์ที่เข้าไปก่อกวนความปกติสุขของคนอื่น ความปกติสุขที่ส่วนใหญ่ยึดโยงกับระบอบชายเป็นใหญ่ซึ่งส่งผลให้เกิดการกดขี่ทางเพศเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ระดับโครงสร้างถึงระดับสามัญสำนึก…

เพชรรัตน์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล: เรียนรู้ ‘ผ่านสิทธิมนุษยชน’ ‘เพื่อสิทธิมนุษยชน’

เพชรรัตน์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล: เรียนรู้ ‘ผ่านสิทธิมนุษยชน’ ‘เพื่อสิทธิมนุษยชน’

          ‘สิทธิมนุษยชน’ เป็นสิ่งแสลงต่อรัฐอำนาจนิยมไม่ว่าที่ใดในโลก           อย่างที่ เพชรรัตน์ ศักดิ์ศิริเวทย์กุล บอก มันเป็นสิ่งที่ท้าทายอำนาจรัฐในระยะยาว เธอเป็นผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ขององค์การนิรโทษกรรมสากล ประจำประเทศไทย (Amnesty International Thailand) คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับชื่อ แอมเนสตี้ มากกว่า           นอกจากบทบาทในการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน ผ่านการฝึกอบรมก็เป็นอีกงานหนึ่งของแอมเนสตี้ ทำให้เธอมีมุมมองต่อสิทธิมนุษยชนศึกษาทั้งในรั้วและนอกรั้วสถาบันการศึกษาที่น่าสนทนาแลกเปลี่ยน           เป็นเรื่องน่าทึ่งที่นักเรียนระดับมัธยมของไทยต้องท่องจำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 30 ข้อ ขององค์การสหประชาชาติในวิชาหน้าที่พลเมืองให้ได้ เพราะถ้าท่องไม่ได้ก็จะลำบากตอนเข้าห้องสอบ มิพักต้องพูดถึงว่าวิชานี้ไม่ใช่สิ่งเดียวกับวิชาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพราะอันที่จริงมันต่างกันมาก           อาจพอกล่าวได้ว่าการศึกษาไทยค่อนข้างแข็งแรงในการเรียน ‘เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน’ ทว่าอ่อนแรงอย่างยิ่งในการเรียน ‘ผ่านสิทธิมนุษยชน’ และ ‘เพื่อสิทธิมนุษยชน’ ไม่ว่าจะท่องจำคร่ำเคร่งอย่างไร สุดท้ายนักเรียนก็จะชนเพดานในโรงเรียนซึ่งถูกทับด้วยเพดานนอกรั้วโรงเรียนอีกชั้นหนึ่ง          …

เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์: ‘การใช้เหตุผล’ ทักษะพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย

เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์: ‘การใช้เหตุผล’ ทักษะพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย

          มนุษย์มีศักยภาพที่จะใช้เหตุผลในการขบคิด ใคร่ครวญ ตั้งคำถาม ประเมินคุณค่าต่างๆ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยากรู้อยากเห็น และต้องการรู้ความจริง เป็นของขวัญหรือคำสาปก็ยากจะตอบได้ กว่า 2,600 ปีที่ปรัชญาถือกำเนิดจากธาเลสแห่งไมเลทุส (Thales of Miletus) ผู้ตั้งคำถามต่อความเป็นจริงในธรรมชาติ ถึงโสเครตีสผู้ตั้งคำถามต่อชีวิต           มองในแง่ประสิทธิภาพ ปรัชญาเป็นศาสตร์เก่าแก่ที่ไม่สร้างผลิตภาพ (Productivity) แต่มีอายุยืนยาว กิ่งก้านของมันแตกแขนงไปสู่ศาสตร์อื่นๆ ในแง่การตั้งคำถามระดับฐานรากต่อวิชานั้นๆ ในระดับชีวิตประจำวัน เราทุกคนน่าจะเคยถามคำถามใหญ่ๆ (Big Questions) ที่ตอบยากๆ กับตัวเอง อย่าง ‘ฉันเกิดมาทำไม’ หรือ ‘ตายแล้วไปไหน’ ถ้าตอบได้ มันก็มักมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตที่เหลือ           เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ จากสาขาวิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์…

‘บริการสุดท้ายแด่ผู้ตาย เก็บกวาดความแตกสลายของชีวิต’ เมื่อเยื่อใยฉีกขาดและความหวังดับแสง

‘บริการสุดท้ายแด่ผู้ตาย เก็บกวาดความแตกสลายของชีวิต’ เมื่อเยื่อใยฉีกขาดและความหวังดับแสง

           ‘เทพตำนานซีซิฟ’ หรือ ‘Le Mythe de Sisyphe’ ของอัลแบรฺต์ กามูส์ สำนวนแปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท ขึ้นต้นประโยคแรกของหนังสือว่า            “ปัญหาทางปรัชญาที่สำคัญจริงๆ มีเพียงปัญหาเดียว นั่นคือ การฆ่าตัวตาย การตัดสินว่าชีวิตมีค่าหรือไม่มีค่าพอที่จะอยู่นั้น คือการตอบคำถามพื้นฐานทางปรัชญา”            ความตายเป็นคำถามใหญ่โต (Big Question) ที่มนุษย์พยายามหาคำตอบมาเนิ่นนานว่ามันคืออะไร สิ่งใดดำรงอยู่หลังความตาย หรือถ้ามีดวงวิญญาณ มันจะเดินทางไปสู่แห่งไหน และอีกมากมาย ความตายเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ได้เพียงครั้งเดียวและไม่เคยมีใครกลับมาบอกเล่าได้ นักคิด นักปรัชญาจึงคิดว่าหนทางเดียวที่พอจะทำความเข้าใจความตายได้ก็คือการทำความเข้าใจชีวิตเพราะมันคือสองด้านของเหรียญเดียวกัน            ในแง่วิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตถูกสร้างมาเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ต่อ ในแง่จิตวิทยา การสูญเสียตัวตนและการดำรงอยู่เป็นภัยพิบัติขั้นหายนะของสิ่งมีชีวิตที่มีจิตสำนึกเกี่ยวกับตัวตนเช่นมนุษย์พยายามหลบเลี่ยง การเลือกจบชีวิตตนเองจึงเป็นความขัดแย้งรุนแรงพอๆ กับเป็นปริศนา           …

‘คู่มือหัวใจสลาย’ อย่าปฏิเสธความโศกเศร้า เฝ้าดู และอยู่กับมัน

WanderingBook EP.41 ‘คู่มือหัวใจสลาย’ อย่าปฏิเสธความโศกเศร้า เฝ้าดู และอยู่กับมัน

การสูญเสียคนรักไม่ว่าจะเป็นคู่ชีวิต ลูก พี่น้อง พ่อแม่ ล้วนนำมาซึ่งความโศกเศร้า มนุษย์เสาะแสวงหาวิธีจัดการความเศร้าโศกที่ได้ผล แต่มันไม่เคยมีวิธีใดที่เป็นคำตอบสำเร็จรูป Julia Samuel นักจิตบำบัดด้านความเศร้า ผู้เขียน ‘Grief Works: Stories of Life, Death and Surviving’ หรือ ‘คู่มือหัวใจสลาย’ บอกเราความโศกเศร้าของผู้สูญเสียคนที่ตนรัก กระบวนการที่ความเศร้าโศกทำงานกับเรา และการโอบรับมันอย่างเข้าใจ Julia บอกว่า “เราต้องเคารพและเข้าใจกระบวนการความเศร้า ยอมรับความสำคัญของมัน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่จะเอาชนะได้ด้วยการต่อสู้…แต่ในการเยียวยาความเศร้า เราต้องยอมให้ตัวเองรู้สึกถึงความเจ็บปวด” เราทุกคนต่างมีวิธีรับมือกับความเจ็บปวดและจังหวะชีวิตที่ความโศกเศร้าทำงานต่างกันออกไปจึงไม่มีใครบอกได้ว่าเมื่อใดที่เราควรหายเศร้า

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก