ปัทมา เจริญกรกิจ

ปัทมา เจริญกรกิจ

นักหัดเขียนที่สนใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ สถาปัตยกรรม ชอบเรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเชื่อในการเรียนรู้จากประสบการณ์

กฎหมายห้องสมุด กลไกช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของห้องสมุดประชาชน

กฎหมายห้องสมุดเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณ เพื่อมาตรฐานบริการที่เท่าเทียม

          ห้องสมุด ถือเป็นสถาบันที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการอ่าน การศึกษา รวมถึงเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างผู้คนและองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ แต่การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ดีของประชาชนทุกคนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยให้ห้องสมุดต่างๆ ในประเทศมีทรัพยากรเพียงพอในการรักษาคุณภาพในการให้บริการ?           ในงานสัมมนาว่าด้วยห้องสมุดประชาชนโดยยูเนสโก (UNESCO) เมื่อปี 1953 มีข้อเสนอว่า มาตรการทางกฎหมาย เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีอำนาจในการบริหารงาน และมีหลักประกันว่าห้องสมุดจะได้รับการสนับสนุนด้านการเงินที่เหมาะสม           ผ่านมาแล้วกว่า 70 ปี มีหลายประเทศที่บังคับใช้กฎหมายห้องสมุด และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ลองมาดูกันว่าประเทศต่างๆ ที่บทความนี้หยิบยกมากล่าวถึง ได้รับประโยชน์จากกฎหมายเหล่านั้นอย่างไรบ้าง หลักการและความสำคัญของกฎหมายห้องสมุด           กฎหมายในประเทศต่างๆ มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ แต่โดยหลักการมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน รวมถึงการควบคุมดูแล           ผลการศึกษาในรายงานเรื่อง Public library legislation:…

หนังไทยท้องถิ่นในระบบอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

          ภาพยนตร์นอกกระแสจากทีมผู้สร้างท้องถิ่นเริ่มเป็นที่กล่าวถึงในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสังคมไทย เนื่องด้วยปรากฏการณ์ความสำเร็จของ ‘สัปเหร่อ’ หนึ่งในภาพยนตร์จักรวาลไทบ้านเดอะซีรีส์ ที่กวาดรายได้รวมในประเทศมากถึง 700 กว่าล้านบาท ทุบสถิติหนังไทยที่ทำรายได้สูงสุดในรอบ 10 ปี           ความนิยมดังกล่าวปลุกกระแสความสนใจไปสู่ภาพยนตร์จากผู้สร้างในภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ เรื่องราวที่แฝงไว้ด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ยังช่วยสร้างความหลากหลาย เพิ่มมิติที่แปลกใหม่แก่วงการภาพยนตร์ไทย           แต่กว่าที่ภาพยนตร์สักเรื่องจะมาถึงจุดนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทรัพยากรทั้งงบประมาณและบุคลากรจำนวนมาก บทความนี้ชวนตั้งคำถามและค้นหาคำตอบว่าทำอย่างไรให้ภาพยนตร์จากเหล่าผู้สร้างในท้องถิ่นมีพื้นที่ให้โลดแล่นได้อย่างสม่ำเสมอในวงการภาพยนตร์ อะไรเป็นอุปสรรคในการพัฒนาภาพยนตร์จากผู้สร้างในท้องถิ่น และอะไรคือโอกาสของภาพยนตร์ไทยตามภูมิภาค สถานการณ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย           โดยทั่วไปการสร้างภาพยนตร์มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ หนึ่ง การเตรียมงานสร้างภาพยนตร์ (Pre-Production) นับตั้งแต่การคัดเลือกบทภาพยนตร์ การจัดเตรียมสิ่งต่างๆ ไปจนถึงการจัดทำสตอรี่บอร์ด สอง ขั้นตอนการถ่ายทำ (Production) คือช่วงการถ่ายทำทั้งหมด…

บทบาทของรัฐกับมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมหนังสือ

มองบทบาทรัฐกับนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมหนังสือ

          หนังสือราคาแพง…           นักแปลเป็นอาชีพที่เลี้ยงตัวเองได้ยาก ต้องมีช่องทางรายได้จากที่อื่น แล้วทำงานแปลด้วยใจรัก…           เราไม่เคยมีมาตรการห้ามหนังสือใหม่ลดราคา หนังสือออกวางขายก็ตัดราคากันสนั่นเมืองแล้ว…           เราไม่มีสถาบันการแปลทำหน้าที่นำเสนอวรรณกรรมดีๆ ให้กับสำนักพิมพ์ต่างชาติ…           คนไทยอ่านหนังสือน้อยเกินไปหรือเปล่า ทำไมวัฒนธรรมการอ่านของคนไทยจึงไม่เข้มแข็ง…           เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของสารพันปัญหาที่ผู้เขียนมักจะได้ยินได้ฟังมาจากการพูดคุยปฏิสัมพันธ์กับคนในแวดวงการอ่านและสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นจากการสัมภาษณ์ หรืองานเสวนาต่างๆ บ่อยครั้งที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาใหญ่ คือไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านอย่างจริงจัง พบว่ารัฐบาลในหลายประเทศมีการวางแผน ผลักดัน และดำเนินการอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีอำนาจบริหารจัดการและประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ทำให้ผู้เขียนตระหนักว่าหากต้องการจะสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านและอุตสาหกรรมหนังสือให้เข้มแข็ง ต้องเริ่มจากการมีมาตรการที่ครอบคลุม และเอื้อให้ทุกองค์ประกอบของอุตสาหกรรมหนังสือได้รับการพัฒนาไปพร้อมกัน           บทความนี้ ชวนมาดูตัวอย่างการดำเนินงานของต่างประเทศในมิติเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะเครื่องมือทางกฎหมาย เทียบเคียงกับการดำเนินมาตรการการส่งเสริมอุตสาหกรรมหนังสือของไทยที่ผ่านมา เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ช่วยกันมองไปข้างหน้าว่า แนวคิดริเริ่มที่จะพัฒนาวงการหนังสือในฐานะหนึ่งในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตามนโยบายยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ (รวมไปถึงการพัฒนาห้องสมุดและส่งเสริมการอ่าน) ซึ่งกำลังจะดำเนินการต่อไปให้เป็นรูปธรรมนั้น…

‘โจ๊ะมาโลลือหล่า’ และ ‘เส่คลีฟาร์ม’ โรงเรียนสาธิต(นอกระบบ)ของเด็กบนดอย

ปลูกต้นกล้าความคิด ส่งเสริมทักษะเยาวชนชาติพันธุ์เท่าทันโลก

          “มีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่เคยพูดเอาไว้ว่า ในอนาคตจะมีงูสีเทาบุกมาถึงหมู่บ้าน แล้วชีวิตชาวกะเหรี่ยงก็จะเปลี่ยนแปลงไปเพราะงูตัวนั้น ตอนนี้ก็เพิ่งจะเข้าใจและตีความได้ว่า ‘งูสีเทา’ น่าจะหมายถึง ‘ถนน’ เพราะว่าตั้งแต่ถนนตัดผ่าน วิถีชีวิตก็ไม่เหมือนเดิม”           นี่คือคำบอกกล่าวจากหนุ่มปกาเกอะญอคนหนึ่งถึงความเชื่อของบรรพบุรุษซึ่งพ้องกับความเปลี่ยนแปลงของชุมชนบนที่สูงอย่างน่าประหลาด           การหลั่งไหลของผู้มาใหม่ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตสร้างผลกระทบต่อพื้นที่โดยทางตรงและทางอ้อม ยิ่งในปัจจุบันที่การเข้าถึงข้อมูลนอกชุมชนไม่ได้ยากเย็นเหมือนแต่ก่อน สัญญาณโทรศัพท์เริ่มขยายครอบคลุม ชุมชนชาติพันธุ์บางแห่งมีสมาชิกที่ ‘แอคทีฟ’ และ ‘ทันโลก’ ไม่ต่างจากประชากรในเมืองใหญ่ แต่ก็ยังมีเยาวชนอีกบางกลุ่มที่มีปัญหาในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน พวกเขากำลังค้นหาจุดสมดุลระหว่างวิถีชีวิตดั้งเดิมและสิ่งใหม่ที่มาจากภายนอก           ความซับซ้อนของปัญหาเพิ่มขึ้น เมื่อบุคคลบางกลุ่มยังคงมีมุมมองว่าชุมชนชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ยากไร้ และขาดแคลนสิ่งอุปโภคบริโภค นำมาซึ่งการระดมทุนให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ  ขบวนคาราวานยาวเหยียดในฤดูหนาวที่มาพร้อมสิ่งของบริจาคซึ่งมีทั้งส่วนที่ใช้ได้ และส่วนที่กลายเป็นขยะทำให้คนข้างบนนั้นต้องหาทางกำจัดอย่างยากลำบาก           “คนบนนี้ไม่ได้ต้องการเสื้อผ้า ของบริจาคมากมายขนาดนั้นหรอก แต่เราอยากได้ความช่วยเหลือในรูปแบบที่ทำให้เยาวชนรู้เท่าทันโลกภายนอก สามารถทำมาหากินเลี้ยงตัวเองได้”           สิ่งที่ชุมชนเหล่านั้นต้องการมากที่สุด อาจจะไม่ใช่สิ่งของ เสื้อผ้า…

วรรณกรรมจีนร่วมสมัย ตัวแทนขบถความคิดในม่านหมอกแฟนตาซี

          เมื่อกล่าวถึงวรรณกรรมจีนยอดนิยม หลายคนคงนึกถึงนิยายกำลังภายในเป็นอันดับแรกๆ ภาพในจินตนาการก็คงหนีไม่พ้นชาวยุทธที่เดินทางผจญภัยเพื่อค้นหาเคล็ดลับยอดวิชา บ้างก็นึกถึงการต่อสู้เพื่อชิงความเป็นหนึ่งในยุทธภพ หรือการต่อต้านความไม่ชอบธรรมของผู้มีอำนาจปกครองในแคว้นนั้น            บางคนอาจนึกถึงวรรณกรรมคลาสสิกอย่าง สามก๊ก ไซอิ๋ว ซ้องกั๋ง 108 ผู้กล้าเขาเหลียงซาน และความฝันในหอแดง ที่หลายประเทศนำมาแปลและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง บ้างก็คงนึกถึงวรรณกรรมยุคหลังมาอีกนิดของโกวเล้ง กิมย้ง หรือ เนี่ย อู้เซ็ง ที่แฟนนิยายกำลังภายในคงคุ้นเคยกันดี อีกทั้งยังมีฐานนักอ่านที่แข็งแรงทั้งในและนอกประเทศจีน           แท้จริงแล้ววรรณกรรมจีนมีความหลากหลาย มีพัฒนาการที่เด่นชัดและน่าสนใจท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แม้อำนาจรัฐจะมีผลต่อการควบคุมผลงานวรรณกรรมเป็นอย่างมาก แต่นักประพันธ์หลายท่านก็ยังคงมีช่องทางในการบอกเล่าประเด็นที่ตนต้องการจะสื่อสาร           ในปัจจุบันมีวรรณกรรมจีนอีกประเภทหนึ่งที่เป็นกระแสและแพร่หลายในระดับสากลอย่างรวดเร็วนั่นคือ นิยายวิทยาศาสตร์จีน วรรณกรรมประเภทนี้ไม่ใช่แค่นิยายที่สนองความบันเทิงและนำเสนอเนื้อหาแนวคิดล้ำยุคเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมของผู้เขียนได้อย่างเจาะลึก           บทความนี้จะพาผู้อ่านสำรวจวรรณกรรมจีนร่วมสมัย นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา เพื่อชี้ชวนให้เห็นว่า…

วรรณกรรมไทยสู่วรรณกรรมโลก ถ้าไม่เริ่มก็ไปไม่ถึง

วรรณกรรมไทยสู่วรรณกรรมโลก ถ้าไม่เริ่มก็ไปไม่ถึง

          ทำอย่างไรวรรณกรรมไทยถึงจะโลดแล่นอยู่ในเวทีโลกได้…           คำถามนี้ มักวนเวียนกลับมาในวงสนทนาที่เกี่ยวข้องกับวงการหนังสืออยู่บ่อยครั้ง อาจจะเป็นเพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำนวนวรรณกรรมจากประเทศไทยที่อยู่ในตลาดสากลยังถือว่ามีไม่มากนัก หากเทียบกับประเทศอื่นในทวีปเอเชีย แม้ว่าจะมีกระแสผลักดันให้มีการส่งออกงานเขียนไทยอยู่เป็นระลอกตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ผลงานนักเขียนไทยหลายเรื่องได้รับทุนสำหรับการแปลและเผยแพร่ในต่างประเทศ แต่เมื่อการสนับสนุนสิ้นสุดลง การส่งออกผลงานก็พลอยหยุดชะงักลงไปด้วย           ทำอย่างไร วรรณกรรมไทยถึงจะ ‘โกอินเตอร์’ ได้เหมือนกับหนังสือจากเกาหลีหรือญี่ปุ่น ที่มีนักอ่านแฟนประจำรอคอยติดตามผลงาน และมีสำนักพิมพ์จากประเทศปลายทางสนใจซื้อลิขสิทธิ์ไปแปล            บางทีการสนับสนุนที่นักเขียนและสำนักพิมพ์ต้องการอาจจะไม่ใช่แค่ทุนในการแปล หรือการผลักดันให้เกิดสถาบันหรือหน่วยงานส่งเสริมการแปลเท่านั้น แต่เป็นการส่งเสริมให้ทุกองคาพยพในระบบนิเวศการแปลและการส่งออกวรรณกรรมเข้มแข็งพอที่จะหมุนเคลื่อนไปได้ด้วยตนเอง            คำตอบของคำถามนี้…อาจมีมากกว่าหนึ่ง ความยากของการผลักดันวรรณกรรมไทยสู่เวทีโลก           การผลักดันวรรณกรรมไทยสู่เวทีโลก ต้องใช้ปัจจัยมากมาย ความยากประการแรกที่ต้องเจอ คือการแปล ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน อาศัยความละเอียด มีค่าใช้จ่ายสูง และใช้เวลา เพราะการแปลวรรณกรรมเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ของงานเขียน บรรยากาศ รวมถึงวัฒนธรรมต้นทางที่แฝงอยู่ในเนื้อเรื่องไปสู่ภาษาและวัฒนธรรมปลายทาง การคงไว้ซึ่งเสน่ห์ของความเป็นท้องถิ่นในขณะที่ต้องสื่อสารข้ามภาษาให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องใช้ความเข้าใจอันดีและการสื่อสารไปมาระหว่างนักเขียน นักแปล รวมถึงบรรณาธิการทั้งสองภาษา            ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคในการส่งออกวรรณกรรม คือ ตลาดหนังสือในโลกตะวันตก สำนักพิมพ์ที่ให้ความสนใจวรรณกรรมต่างประเทศมีจำนวนน้อยมาก…

สูด ‘กลิ่น’ เรื่องราว ปลุกเร้าจินตนาการด้วยการ ‘ดม’

สูด ‘กลิ่น’ เรื่องราว ปลุกเร้าจินตนาการด้วยการ ‘ดม’

          หากการเที่ยวพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่คุณโปรดปราน คงพอจะสังเกตได้ว่าการจัดแสดงในนิทรรศการในช่วง 2 – 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ไม่ได้มีแค่ตัวหนังสือเรียงราย หรือวัตถุโบราณอัดแน่นเต็มตู้กระจกอีกต่อไป แหล่งเรียนรู้จำนวนมากทวีความนิยมในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และกระตุ้นความรู้สึกร่วมของผู้รับชม           โดยส่วนมากเทคนิคที่นำมาใช้ จะเน้นการรับรู้ผ่านการมองเห็นและการได้ยิน แต่หนึ่งในประสาทสัมผัสที่สามารถส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกระตุ้นจินตนาการได้อย่างน่าสนใจ อีกทั้งเริ่มถูกนำมาใช้ในแหล่งเรียนรู้ รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ คือการ ‘ดมกลิ่น’ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีนำสมัย แต่ต้องใช้ ‘การออกแบบประสบการณ์’ ที่ละเมียดละไมและสร้างสรรค์           ควรเลือกกลิ่นแบบไหน ถึงจะสื่อสารได้ตรงกับเนื้อหา           ข้อควรคำนึงในการออกแบบกลิ่นมีอะไรบ้าง           บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจวิธีการและตัวอย่างการใช้กลิ่นเพื่อสื่อความหมาย โปรดหลับตา ปล่อยใจ และเปิดประสาทรับรู้ไปพร้อมๆ กัน กลิ่นนั้นสำคัญไฉน           “กลิ่นเป็น sense เดียวที่เราหยุดไม่ได้…

Generative AI ในโลกการศึกษา เครื่องมือสร้างสรรค์ใหม่ที่ท้าทายผู้เรียนและผู้สอน

Generative AI ในโลกการศึกษา เครื่องมือสร้างสรรค์ใหม่ที่ท้าทายผู้เรียนและผู้สอน

          Generative AI (GenAI) เป็นปัญญาประดิษฐ์ประเภทหนึ่งที่สร้างสรรค์ผลงานใหม่ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ และโมเดล 3 มิติ ความฉลาดของซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการเรียนรู้ และการประมวลผลชุดข้อมูลขนาดใหญ่อย่างไม่สิ้นสุด ทำให้ GenAI ผลิตเนื้อหาได้อย่างสมจริงและซับซ้อนใกล้เคียงความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ มีการคาดการณ์ว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในปัจจุบัน           เมื่อไม่นานนี้ GenAI ได้ทำให้โลกต้องตกตะลึงพร้อมทั้งตระหนักว่าวิธีที่เราสื่อสาร ทำงาน และสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ กำลังถูกปฏิวัติ ด้วยการเปิดตัวของ ChatGPT แชตบอตซึ่งทำได้สารพัดสิ่ง ทั้งเขียนโค้ดดิ้ง เขียนบทความ ถามอะไรมาตอบให้ สื่อสารผ่านข้อความได้อย่างฉลาดล้ำ จำนวนผู้ใช้งานกว่า 100 ล้านคนน่าจะเป็นเครื่องยืนยันถึงความตื่นตัวและความนิยมในวงกว้างของเทคโนโลยีดังกล่าว           ความก้าวหน้าของ GenAI ในด้านงานภาพก็มีประสิทธิภาพเช่นกัน ตัวอย่างโปรแกรมที่ได้รับความสนใจ…

เปิดสนามความสนุก ห้องสมุดกับอุตสาหกรรม E-Sport

เปิดสนามความสนุก ห้องสมุดกับอุตสาหกรรมอีสปอร์ต

          การแข่งขันกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ‘อีสปอร์ต’ (E-Sport) เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่กำลังได้รับความนิยม มีทีมและสนามแข่งขันระดับโลกเกิดขึ้นมากมาย เช่น World Cyber Games Championship ซึ่งเปรียบเหมือนสนามโอลิมปิกของโลกแห่งเกม ความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้เติบโตไปพร้อมกัน กลายเป็นตลาดอาชีพใหม่ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล           หลายประเทศออกนโยบายสนับสนุนธุรกิจ รวมถึงพัฒนาหลักสูตรอีสปอร์ตในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ทั้งด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ การออกแบบเกม การผลิตเนื้อหา และการพัฒนานักกีฬา ให้สอดรับกับทิศทางความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของตลาดงาน           สำหรับห้องสมุดกับอีสปอร์ต เป็นสองสิ่งซึ่งเหมือนคู่ตรงข้าม เพราะภาพจำของคนส่วนใหญ่ห้องสมุดดูเหมือนสถานที่แบบ Passive มีบรรยากาศเงียบขรึม ในขณะที่อีสปอร์ตเป็นกิจกรรมแบบ Active มีความคึกคักและบางครั้งอาจมีเสียงดังเอะอะ แต่ภายใต้ความแตกต่าง ห้องสมุดและอีสปอร์ตมีจุดร่วมเดียวกันคือตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการของคนยุคใหม่ ไปพร้อมกับเสริมทักษะจำเป็นสำหรับอนาคต ด้วยเหตุนี้ห้องสมุดหลายแห่งจึงเล็งเห็นโอกาสในการนำสองสิ่งนี้มาผสมผสานกัน ยุคทองของอีสปอร์ต           อีสปอร์ตก็เหมือนกีฬาปกติที่มีการกำหนดกฎกติกาต่างๆ…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก