พชร สูงเด่น

พชร สูงเด่น

อ่าน เขียน เรียนรู้ตลอดชีวิต

เหตุผลที่ควรอ่านผลงานของ ‘จาเร็ด ไดมอนด์’

เหตุผลที่ควรอ่านผลงานของ ‘จาเร็ด ไดมอนด์’

          ในระยะหลังมานี้ งานแปลแนววิชาการ หรือ non-fiction เริ่มเป็นที่สนใจของนักอ่าน หนึ่งในนักเขียนที่ผลงานเป็นที่กล่าวถึงและเป็นที่นิยมไม่น้อยคือ จาเร็ด ไดมอนด์ (Jared Diamond) ความน่าสนใจ อาจจะเริ่มตั้งแต่ประวัติของเขา ที่แม้แต่นักวิจารณ์ก็ยังพบว่ายากที่จะให้นิยามว่าเขาคือผู้เชี่ยวชาญด้านใดกันแน่           The Daily Mail เรียกเขาว่า นักสรีรศาสตร์ที่ผันตัวมาเป็นนักปักษีวิทยา ก่อนที่จะหันเหไปเป็นนักภูมิศาสตร์ และลงเอยที่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเล่าประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติ แต่บางที สิ่งที่ไดมอนด์นิยามตนเองอาจจะนิยามได้ตรงประเด็นกว่า           “ผมคือนักวิทยาศาสตร์ ที่พยายามจะเข้าใจประวัติศาสตร์ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์”           ไม่ว่าจะถูกเรียกขานอย่างไร ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลงานของเขามักจะถูกมองว่าเป็น ‘ของขวัญแห่งปัญญา’ แต่ละเล่มเจาะลึกเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ พาผู้อ่านดำดิ่งไปกับเรื่องชีววิทยาวิวัฒนาการ และชีวภูมิศาสตร์ ในวันนี้มีหลายเล่มที่ถูกแปลเป็นภาษาไทย เช่น           The Third Chimpanzee:…

การแปลคือหนทาง…หาใช่ปลายทาง

การแปลคือหนทาง...หาใช่ปลายทาง

“Every language is a world. Without translation, we would inhabit parishes bordering on silence.” “ภาษาคือโลกแต่ละใบ หากไร้ซึ่งการแปลแล้วเราคงไม่แคล้วอาศัยอยู่ในพรมแดนแสนเงียบงัน”           จอร์จ สไตน์เนอร์ (George Steiner) นักเขียน นักปรัชญา นักการศึกษากล่าวไว้ และหลังจากได้พูดคุยกับผู้ทำงานแปล ‘ในความเงียบงัน’ ทั้ง ‘แปลเข้า’ และ ‘แปลออก’ เราก็อดที่จะพยักหน้าเออออกับคำกล่าวนี้ของสไตน์เนอร์ไม่ได้           แม้จะไร้ข้อมูล และการไม่มีข้อมูลย่อมเป็นข้อมูลอย่างหนึ่ง (No data is data.) แต่เห็นเป็นประจักษ์ชัดเจนว่าเรามีงานแปล ‘นำเข้า’…

บรรณาธิการ สังคมการอ่าน และระบบหนังสือแห่งชาติ

บรรณาธิการ สังคมการอ่าน และระบบหนังสือแห่งชาติ

          เราตั้งใจไปคุยกับเขาเรื่องบรรณาธิการศึกษา หลักสูตรระยะสั้นที่หาเรียนได้ยากนัก อันที่จริงอาจเป็นแห่งเดียวที่เปิดสอนและเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าไปเรียนได้ กำหนดการเนื้อหาสิบสัปดาห์ว่าด้วยบรรณาธิการศึกษา ทว่าแค่ชั่วโมงแรกเรากลับคุยกันไปถึงเรื่องต่างๆ ทั้งสื่อที่เปลี่ยนไป ความสดใหม่ของนักเขียนเด็ก และความอยู่รอดของคนทำงานที่หลายคนมองเห็นและประสบปัญหาคล้ายกัน           ครั้งนี้ก็เช่นกัน เราตั้งใจไปคุยกับเขาเรื่องโลกของบรรณาธิการ หากเมื่อคุยกันไปแล้ว ได้พบและต้องยอมรับความจริงว่าโลกของบรรณาธิการนั้นเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และเราจะไม่สามารถเข้าใจความเป็นไปของดาวดวงนี้ได้เลยหากไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด เราจะไม่สามารถวิเคราะห์ถึงความท้าทาย ข้อจำกัดของบรรณาธิการได้หากไม่เห็นว่าสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมสิ่งที่บรรณาธิการทั้งเป็นและไม่เป็นอยู่ในขณะนี้นั้นเป็นอย่างไร           ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าเรากำลังคุยอยู่กับ อาจารย์มกุฏ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2555 ผู้ทำงานด้านหนังสือมามากกว่าสี่สิบปี เป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อที่ผลิตทั้งวรรณกรรมระดับโลกและปลุกปั้นนักเขียนเด็กให้เกิดขึ้นในไทย            แม้หลักสูตรที่เราเรียนจะว่าด้วยการตรวจและแก้ไขงานวรรณกรรม หากวรรณกรรมที่ว่านั้นไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องแต่งในรูปแบบหนังสือเท่านั้น หากสื่อที่เปลี่ยนไปยังหมายถึงงานเขียนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะปรากฏบนสื่อชนิดใดก็ตาม           อาจารย์มกุฏ เปรียบเทียบกับสาขาวิชาชีพอื่นให้เห็นความสำคัญของบรรณาธิการชัดว่า “ในอุตสาหกรรมอื่นมีบุคลากรและฝ่ายที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องทั้งนั้น ในโรงงานมี QC ถ้าไม่มีคนที่ทำหน้าที่ตรงนี้เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่ผลิตออกมาถูกต้องตามที่ควรเป็นหรือเปล่า ร้ายแรงที่สุดก็อาจส่งผลต่อชีวิตได้เลย…

Auto-bio-graphy อำนาจ-ชีวิต-การเขียน

Auto-bio-graphy อำนาจ-ชีวิต-การเขียน

          “ความทุกข์เบาบางลงเมื่อได้พบความหมาย”           วิกเตอร์ อี แฟรงเกิล จิตแพทย์ชาวยิว-ออสเตรียน ผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในค่ายเอาชวิตซ์เขียนไว้ในหนังสือเล่มสำคัญของเขา (และของเรา) ‘Man’s Search for Meaning’ บันทึกชีวิตในค่ายกักกัน บันทึกวันเวลาแห่งความกลัว โกรธ เกลียดจากการต้องเห็นทั้งคนรักและคนไม่รู้จักถูกทรมานถึงตาย โดยไม่รู้ว่าวันสุดท้ายของตนจะมาถึงเมื่อไร           ในช่วงที่จิตและใจสลายเช่นนั้น แฟรงเกิลพบว่าไม่ใช่ความหวังหรือความสุขหรอกที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ต่อไป เพราะหากเป็นเช่นนั้นชีวิตเขาคงจบสิ้นตั้งแต่วันที่ก้าวเข้าไปในค่าย แต่หากเป็น ‘ความหมาย’ ที่หมายถึงความเข้าใจในความสำคัญของทุกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีหรือร้าย เพื่อให้ยังพออยู่กับลมหายใจได้โดยเฉพาะในวันที่ไม่รู้ว่าจะอยู่ไปทำไม           ยากเหลือเกินที่จะจินตนาการถึงสถานการณ์ที่แฟรงเกิลเผชิญได้ นี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติทั่วไป ครั้งเดียวก็ผิดปกติมากเกินไปในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ หากประสบการณ์เฉพาะบุคคลของแฟรงเกิลกลับบันทึกบทเรียนสำคัญ นั่นคือบทเรียนที่ว่า “ชีวิตไม่ไร้ความหมาย” ดังชื่อหนังสือของเขาในภาษาไทย บทเรียนสากลที่ประยุกต์ใช้ได้กับผู้คนทุกสมัย ทุกชนชั้น ทุกสัญชาติว่าความทุกข์แปรเปลี่ยนเป็นความหมายเมื่อเราถอยมาพิจารณาชีวิตจากมุมกว้าง เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยง เห็นแก่นแท้ใจความสำคัญซึ่งอยู่ตรงนั้นเสมอไม่ว่าสถานการณ์ชีวิตจะพยายามกระแทก เขย่าเรารุนแรงเพียงใด…

Return to the River ปัจฉิมวัยของชายที่เคยถูกเรียกว่า “มัน”

Return to the River ปัจฉิมวัยของชายที่เคยถูกเรียกว่า “มัน”

          จะมีหนังสือสักกี่เล่มที่เราอ่านแล้วจำได้ แม้เวลาผ่านไปยี่สิบปี           หนังสือเรื่องเด็กที่ถูกเรียกว่า “มัน”(A Child Called “It”) ไม่ได้เป็นเล่มที่แตกต่างจากบรรดาวรรณกรรมเยาวชนที่อ่านในวัยประถมศึกษามากที่สุด ไม่ใช่แค่เพราะประเภทของหนังสือเล่มนี้ที่เป็นอัตชีวประวัติ แต่รวมถึงเนื้อหาของหนังสือที่เรียกได้ว่าเขย่าขวัญ สั่นประสาท และยิ่งคำนึงถึงประเภทหนังสือว่านี่คือ ‘nonfiction’ เรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องแต่ง ยิ่งทำให้เนื้อหาหนังสือเล่มนี้ติดอยู่ในใจนานและลึกยิ่งกว่าเคย           จะมีหนังสือสักกี่เล่มที่เราอ่านแล้วนึกถึงตัวละครในหนังสือนั้นอยู่เสมอ ไม่ได้นึกถึงในเชิงคาแรกเตอร์ตัวโปรดหรืออะไรเทือกนั้น หากนึกถึงราวกับเพื่อนคนหนึ่งที่นึกถึงกัน อยากรู้ว่าเขาโตมาเป็นอย่างไรบ้าง เรื่องราวที่เขาเล่าไว้ในบทต่างๆ ที่ลำพังคนอ่านยังค้างอยู่ในใจ แล้วเขาล่ะ? เขาคนที่ประสบกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง ป่านนี้จะเป็นอย่างไร?           เดฟ เพลเซอร์ (Dave Pelzer) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือเพื่อนคนนั้นที่เรานึกถึงอยู่เรื่อยๆ ตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา ใครเลยจะคิดว่ายี่สิบปีผ่านไป ในขณะที่กำลังเปิดหาหนังสือออกใหม่ผ่านช่องทางซื้อขายหนังสือออนไลน์ เรากลับเจอชื่อคุ้นๆ นี้ แต่ด้วยปกและชื่อเรื่องที่ไม่มีอะไรคล้ายคลึงกับเล่มแรกที่ทำให้เรารู้จักเขาว่านี่คือเดฟคนนั้น…

The Myth of Normal ปกติที่ผิดเพี้ยน

The Myth of Normal ปกติที่ผิดเพี้ยน

          “หากในชีวิตนี้คุณต้องเลือกอ่านหนังสือหนาห้าร้อยกว่าหน้าสักเล่ม ขอให้เลือก The Myth of Normal”            หนึ่งในรีวิวจากบุ๊กต๊อกเกอร์ #BookToker ที่อาจทำให้หลายคนหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา แต่ความหนาห้าร้อยกว่าหน้าก็อาจทำให้วางมันลง ทว่าแฟนหนังสือของกาบอร์ มาเต (Gabor Maté) คงไม่ลังเลที่จะละเลียดหนังสือเล่มนี้จนจบ และหากใครได้เปิดอ่านก็อาจร้องขอให้เขาเขียนภาคต่อด้วยซ้ำ เพราะแม้ The Myth of Normal: Trauma, Illness, & Healing in a Toxic Culture (2022) เป็นผลงานล่าสุดที่หลายคนมองว่าขมวดเนื้อหา ประมวลผลความเข้มข้นของหนังสือเล่มอื่นๆ ของเขาเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งในเรื่องของความสัมพันธ์กายใจ การเสพติด ความเครียด พัฒนาการเด็ก ทว่า…

Wonder Boy เมื่อความสุขไม่ใช่ทุกสิ่ง

Wonder Boy เมื่อความสุขไม่ใช่ทุกสิ่ง

          “ผมออกวิ่งไปบนท้องถนน …​ หมึกยักษ์ตัวมันเป็นเมือกแสยะยิ้มกว้างกำลังไล่ล่าตามผม … ผมพยายามปีนป่ายไปบนผนังไม้สีน้ำตาล แต่ก็ไร้ผล ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วยผมเลย”           บันทึกฝันร้ายที่โทนี เช (Tony Hsieh) เขียนไว้ในวัยเด็ก กลายเป็นฉากสุดท้ายที่เขาถูกไฟคลอกตาย อาจเป็นความบังเอิญหรือเป็นตลกร้ายที่สิ่งใดที่โทนีล้วนเคยเขียนไว้ กลับมาลิขิตชีวิตของเขา           ชีวิตของเขา ที่ดูเหมือนจะลิขิตเองได้ในทุกฉากตอน ตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งธุรกิจ LinkExchange ที่ขายต่อให้ Microsoft ในราคา 265 เหรียญสหรัฐ ก่อนจะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาในสิบปีต่อมา แล้วขายให้ Amazon ด้วยมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญ ใครเลยจะคิดว่าฉากเดียวที่เขาไม่อาจลิขิตและไม่มีใครคาดคิดว่าจะลงเอยเช่นนั้นคือฉากสุดท้ายในอีกสิบปีถัดมาที่เขาจบชีวิตลงโดย “ไม่มีใครสักคนอยู่ตรงนั้นเพื่อช่วย [เขา] เลย”           ชีวิตโทนี่ดูจะเต็มไปด้วยความย้อนแย้ง ‘เอเชียนกาย’ ที่ใช้ชีวิตตามนิยามอเมริกันดรีม เด็กหนุ่มขี้อายที่อยากเชื่อมผู้คนเข้าหากัน…

‘WALKABLE CITY’ เมืองเดินได้เดินดี

‘WALKABLE CITY’ เมืองเดินได้เดินดี

          “เมืองที่ดีไม่ใช่เมืองที่ผู้คนมีรถยนต์ส่วนตัวใช้ แต่เป็นเมืองที่คนรวยก็ยังใช้ขนส่งสาธารณะ” คำกล่าวของกุสตาฟ เพโตร เทศมนตรีเมืองโบโกตา ที่แทบจะกลายเป็นตัวชี้วัดความเป็นเมืองที่ดี            เมืองที่ดีที่ไม่ใช่แค่ ‘เมืองเดินได้’ (Walkable City) นิยามที่เจฟฟ์ สเปก (Jeff Speck) ผู้เขียน Walkable City: How Downtown Can Save America, One Step at a Time วาดไว้ เป็นวิสัยทัศน์ของเมืองที่เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าที่ไม่เพียงจะทำให้เมืองเยี่ยมขึ้นอีกครั้ง แต่ชีวิตของผู้อยู่อาศัยก็จะดีเยี่ยมขึ้นด้วยเช่นกัน (not only to make [the] cities great again,…

We Built a Village: Cohousing and the Commons

We Built a Village: Cohousing and the Commons

         “ความปรารถนาแรงกล้าเท่านั้นที่จะดลบันดาลให้ทุกสิ่งเกิดขึ้นจริงได้”           ความปรารถนาแรงกล้าที่ว่าอาจเป็นความฝัน ความทะยานอยาก หรือแม้กระทั่งความตาย ความปรารถนาที่ไม่เพียงลงมือทำเพราะเชื่อในความเป็นไปได้ หาก ‘จำเป็น’ ต้อง ‘ทำให้ได้’           ความปรารถนาแรงกล้าดั่งความปรารถนาของไดแอน อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เพิ่งสูญเสียสามีไป และโฮปที่เพิ่งให้กำเนิดลูกชายคนใหม่ ที่ทำให้ทั้งสองออกหา ลงมือสร้าง ‘Cohousing’ ชุมชนคนบ้านเดียวกัน ชุมชนที่ทั้งสองบอกว่าไม่ใช่แค่ความฝัน หากเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการมีชีวิตที่ดี            ไดแอน ร็อธบาร์ด มาร์โกลิส (Diane Rothbard Margolis) สูญเสียสามีของเธอในปี 1991 ปีแห่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เปิดฉากยุค ‘ตลาดอยู่เหนือทุกสิ่ง’ (Market Triumphalism) หากไดแอน ในฐานะอาจารย์สังคมวิทยาผู้ศึกษาสังคมที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์กลับพบว่าในขณะที่ตลาดส่งเสริมคุณภาพสินค้าและบริการผ่านการแข่งขัน แนวคิดเชิงตลาดเหนือทุกสิ่งกลับไม่ได้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในแบบเดียวกัน            ไดแอนรู้ว่าเธออยู่บ้านเดี่ยวหลังเดิมที่เคยอยู่ร่วมกับสามีต่อไปได้…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก