ชนมน วังทิพย์

ชนมน วังทิพย์

อ่านเป็นงานหลักและงานอดิเรก เขียนบ้างเพื่อทบทวนสิ่งที่อ่าน คาดหวังว่าอนาคตจะสนุกกับการเขียนมากขึ้น ไม่ต้องเท่าที่สนุกกับการอ่านก็ได้ เพราะอยากเล่าให้คนอื่นฟังด้วยว่าที่อ่านนั้นสนุกยังไง

ญี่ปุ่นป็อป: ประดิษฐกรรมจากโลกที่นำเราไปก้าวหนึ่งเสมอ

ญี่ปุ่นป็อป: ประดิษฐกรรมจากโลกที่นำเราไปก้าวหนึ่งเสมอ

          “Japan really is Living in the Future!”           ในช่วงเวลาก่อนที่บทความนี้จะเผยแพร่ One Piece ฉบับซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันของเน็ตฟลิกซ์ที่เพิ่งจบไป ได้รับเสียงฮือฮาจากแฟนตัวยงทั่วโลก (โดยเฉพาะโลกตะวันตก!) บรรดาเพจต่างๆ ในเฟซบุ๊กเขียนถึงนิทรรศการ The World of Studio Ghibli’s Animation Exhibition Bangkok 2023 ซึ่งยกมาจัดแสดงที่กรุงเทพฯ และได้รับความนิยมจนขยายเวลาจัดถึงต้นปีหน้า ชาวทวิตเตอร์ถกเถียงร้อนแรงหลากประเด็นถึงแอนิเมชัน เกิดใหม่เป็นลูกโอชิ (Oshi no Ko) หนังสือนวนิยายของฮารูกิ มูราคามิ (Haruki Murakami) ฉบับแปลไทยเพิ่งตีพิมพ์ซ้ำและวางแผงไปไม่กี่เดือนก่อนหน้า พร้อมๆ กันกับที่ผู้ใช้…

คุณเชื่อในหัวใจของมนุษย์ไหม? หัวใจที่เปราะบางและไม่ได้งดงามดวงนั้น

คุณเชื่อในหัวใจของมนุษย์ไหม? หัวใจที่เปราะบางและไม่ได้งดงามดวงนั้น

[มีการเปิดเผยเนื้อหาของหนังสือบางส่วน]           หัวใจมนุษย์มันเป็นแบบไหนกันนะ?           “เธอเชื่อในหัวใจมนุษย์หรือเปล่า ฉันไม่ได้หมายถึงแค่อวัยวะ ฉันกำลังพูดถึงในแง่กวี หัวจิตหัวใจของมนุษย์น่ะ เธอเชื่อว่ามีอะไรอย่างนั้นหรือเปล่า สิ่งที่ทำให้เราแต่ละคนพิเศษและมีลักษณะเฉพาะตัว”           ฉันถามตัวเองหลังอ่านข้อความบนโปรยปกนี้ซ้ำๆ หลายครั้งก่อนตัดสินใจเปิดหน้าแรกของหนังสือแล้วเริ่มอ่านเนื้อใน ถามและทายในใจว่าบริบทของข้อความนี้คืออะไร หัวใจมนุษย์มันเป็นแบบไหนกันนะ ตัวละครไหนล่ะที่จะเป็นคนเอ่ยถาม ฉากไหนที่จะเฉลยถ้อยความที่เป็นคำตอบของคำถามนี้ออกมา แล้ว ‘หัวใจ’ ของมนุษย์ที่ถูกวาดขึ้นด้วยหนังสือเล่มนี้จะงดงามและพิเศษสักแค่ไหนกัน…           ฉันหยิบ ‘คลาราและดวงอาทิตย์ (Klara and the Sun)’ ผลงานของคาซึโอะ อิชิงุโระ (Kazuo Ishiguro) ขึ้นมาจากกองหนังสือรออ่านเพราะข้อสงสัยข้างต้นนี้ และเพราะเรื่องย่อคร่าวๆ ที่จั่วเอาไว้บนชั้นที่ร้านหนังสือว่า นิยายเล่มนี้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านสายตาของ ‘คลารา’ หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เพื่อนปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Friend: AF)…

ด้วยรักและคิดถึง ความทรงจำ ชาติไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์

ด้วยรักและคิดถึง ความทรงจำ ชาติไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์

          อาจอยู่ในฐานะปัญญาชนร่วมสมัย อาจอยู่ในฐานะอาจารย์ อาจอยู่ในฐานะนักเขียน อาจอยู่ในฐานะต้นธารความคิด อาจอยู่ในฐานะนักวิจารณ์สังคมไทยเชื้อสายเจ๊ก อาจอยู่ในฐานะชายชราท่าทางใจดีธรรมดาๆ คนหนึ่ง นิธิ เอียวศรีวงศ์ อาจเป็นใครสักคน อยู่ในสักฐานะหนึ่งในใจของนักอ่าน นักวิชาการ ไปจนถึงนักเรียนฝั่งสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ และคอประวัติศาสตร์ทั่วไป           และเมื่อกล่าวถึงนิธิ สิ่งที่ย่อมจะพ่วงท้ายมาด้วยก็คือความทรงจำต่องานชิ้นสำคัญชิ้นใดชิ้นหนึ่งจากผลงานมากมายตลอดชีวิตที่ผ่านมาของเขา ซึ่งสร้างแรงกระเพื่อมสำคัญในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์ไทย ไม่ว่าจะเป็น การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์-วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์           ในห้วงเวลาของการรำลึกถึง หนังสือเล่มที่ฉันนึกถึงและเลือกหยิบขึ้นมาอ่านอีกครั้งก็คือ ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม รัฐ และรูปการณ์จิตสำนึก หนังสือเล่มบางๆ ที่มาจากการรวมบทความวิเคราะห์วิพากษ์ประวัติศาสตร์ สำนึกความเป็นชาติในรัฐไทย…

ในโลก ‘โฟนี่ๆ’ คงมีแต่คนดีที่ยังไม่บ้า

ในโลก ‘โฟนี่ๆ’ คงมีแต่คนดีที่ยังไม่บ้า

          ขอสารภาพว่ากว่าบทความนี้จะเดินทางมาถึงพวกคุณ–ผู้อ่าน ฉันเสียน้ำตาไปแล้วมากกว่า 2 ยก…           ไม่ใช่เลย นี่ไม่ใช่นวนิยายดรามาเรียกน้ำตา ถ้าคุณกำลังสงสัยอยู่ว่า ‘แม่ง โคตรโฟนี่เลย’ คือหนังสือประเภทไหน แล้วถ้าคุณจะสงสัยต่อว่า ชื่อหนังสือแสนแสบสันนี้ไม่ได้เป็นหนังสือที่น่าจะต้องมีเนื้อหาดุเด็ดเผ็ดมันจนต้องสูดปากตามมากกว่าเสียน้ำตาหรอกเหรอ หรือถ้าอ่านตามแล้วจะร้องไห้ไหม หรือฉันร้องไห้เพราะอะไรในหนังสือเล่มนี้            ฉันก็จะขอสารภาพตามตรงอีกคำรบว่าถ้าต้องตอบตอนนี้ก็ไม่ยังไม่รู้คำตอบเหมือนกัน หาที่มาที่ไปไม่ได้ว่าทำไม           แต่เพราะคิดเอาเองว่าถ้าคุณคืออีกคนหนึ่งที่ร่วมชะตากรรมผูกสัมพันธ์แบบ love-hate relationship กับโลกและสังคม ‘โฟนี่ๆ’ นี้ด้วยกัน            ฉันไม่อยากให้คุณพลาดหนังสือเล่มนี้เด็ดขาด           โฟนี่ *pho·ney /ˈfōnē/            [adj] ปลอม [n] คนหลอกลวง           See also:…

“ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” เราพูดอะไร เวลาพูด “อะไรๆ” ว่าด้วยความรัก

“ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” เราพูดอะไร เวลาพูด “อะไรๆ” ว่าด้วยความรัก

          ที่ใดมีรัก…           เรื่องรักไม่เคยล้าสมัย…           ไม่ว่าจะในตอนนี้ ในหรืออีกสองพันปีข้างหน้า หรือเมื่อกว่าสองพันปีมาแล้วย้อนกลับไป…           หลักฐานชิ้นแรกคือบทความนี้ อย่างไม่ต้องสงสัย           หลักฐานชิ้นต่อไปก็คืองานเขียนที่กำลังจะชวนให้คุณลองอ่านด้วยกันในเดือนแห่งความรัก หนึ่งในงานชิ้นเอกของปราชญ์ชาวกรีกโบราณคนสำคัญผู้ส่งอิทธิพลต่อปวงปรัชญาหลังจากนั้น           “ซิมโพเซียม: ปรัชญาวิวาทะว่าด้วยความรัก” โดยเพลโต           ซิมโพเซียม (Symposium) คืองานเขียนชิ้นสำคัญที่ถ่ายทอดวิวาทะว่าด้วยความรักของชายทั้งเจ็ด (เฟดรัส พอซาเนียส อีริซิมาคัส อริสโตฟาเนส อกาธอน โซเครตีส และอัลซิไบอาดีส) ในรูปแบบบันทึกการสนทนาจากวงประชุมดื่ม ถูกเล่าซ้ำโดย “อพอลโลโดรัส” ศิษย์คนสำคัญของโซเครตีสซึ่งได้รับรู้เรื่องราวของวงสนทนานี้มาจากอริสโตเดมัสอีกต่อหนึ่ง เรียกได้ว่างานเขียนชิ้นนี้ของเพลโตคือบทสนทนาว่าด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับความรัก (ที่จะว่าด้วยบทสนทนาอีกชั้นหนึ่ง เพราะโซเครตีสผู้เป็นตัวเอกของเรื่องเล่าที่ว่าของอพอลโลโดรัส ก็เลือกกล่าวสุนทรพจน์ด้วยการอ้างถึงสิ่งที่ได้จากการ “สังสันทนา” กับผู้อื่นมาเหมือนกัน)           …

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก