สุธาสินี เลิศวัชระสารกุล

สุธาสินี เลิศวัชระสารกุล

นักเขียนอิสระที่ชอบพูดคุยกับผู้คน สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมอาหาร และการเดินทางเป็นพิเศษ ทุกวันนี้พยายามหาเวลาให้ตัวเองได้ออกเดินทางทั้งภายนอกและภายใน

‘Rhythm and Books’ ร้านหนังสือในเมืองเล็กกับจังหวะชีวิตของ ภาณุ มณีวัฒนกุล

จังหวะและชีวิตของ ภาณุ มณีวัฒนกุล กับความพยายามสร้างวัฒนธรรม ‘การอ่านหนังสือในเมืองเล็ก’ ผ่านร้านหนังสือ Rhythm and Books

          แม้ใครๆ จะมองว่าวัฒนธรรมร้านหนังสืออิสระในไทยจะไม่เคยแข็งแรงและไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐเท่าที่ควร ยังไม่นับว่าในความไม่แข็งแรงและในจำนวนอันน้อยแสนน้อยของร้านหนังสืออิสระเหล่านั้นก็กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวง เมืองใหญ่ๆ หรือเมืองท่องเที่ยวเพียงไม่กี่เมือง แต่ ‘บาฟ’ ภาณุ มณีวัฒนกุล นักเขียนสารคดี และช่างภาพที่เคยมีผลงานหนังสือรวมเล่มขายดีและภาพถ่ายสารคดีชีวิตต่างแดนไว้มากมายกลับท้าทายความเชื่อนั้น           หลังจากตัดสินใจหยุดพักจากการเดินทางเพื่อเขียนหนังสือด้วยเงื่อนไขบางประการ ภาณุ ตัดสินใจเปิดร้านหนังสือเล็กๆ และแกลเลอรีในเมืองที่เล็กกว่าอย่างหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในชื่อร้าน Rhythm and Books ก่อนจะย้ายมาเปิดที่ปราณบุรี ร้านหนังสือ Rhythm and Books ของภาณุมีหนังสือเฉพาะทางที่ขายยากอย่างบทกวี หนังสือมือสองเก่าๆ ที่หายาก รวมทั้งหนังสือรวมภาพผลงานศิลปะต่างๆ ซึ่งขายยาก           ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่า ร้านหนังสือในเมืองเล็กๆ เป็นโมเดลที่ยากจะประสบความสำเร็จ เพราะแม้แต่ร้านใหญ่ในเมืองใหญ่บางแห่งยังเอาตัวแทบไม่รอด แต่ภาณุก็ยังยืนยันที่จะทำร้านหนังสือในเมืองที่ไม่ได้เป็นศูนย์กลางการอ่านต่อไป เพราะเขาเชื่อว่าเมืองหัวหินและปราณบุรี ที่เขาเลือกเป็นบ้านในยามใกล้เกษียณอายุ นั้นสามารถสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้ค่อยเติบโตทีละนิดได้ แม้มันจะใช้เวลายาวนานสักเท่าไหร่ และไม่ว่ามันจะแลกมาด้วยอะไรก็ตาม…

เปิดบ้าน Readery Studio โอเอซิสสำหรับคนรักการอ่านและการเขียน

เปิดบ้าน Readery Studio โอเอซิสสำหรับคนรักการอ่านและการเขียน

          ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ความหลงใหลในการอ่านและเขียน ทำให้นักเขียนบทภาพยนตร์อย่าง โจ้ – อนุรุจน์ วรรณพิณ และนักออกแบบเว็บไซต์อย่าง เน็ต – นัฏฐกร ปาระชัย ตัดสินใจเปิดร้านหนังสือออนไลน์ร่วมกันในชื่อ Readery ซึ่งต่อมากลายเป็นชื่อติดหูนักอ่าน และขยับไปสู่การจัดรายการพอดแคสต์แนะนำหนังสือน่าอ่านด้วยความเชื่อว่า อาจมีหนังสือสักเล่มที่เปลี่ยนแปลงความคิดและชีวิตคนฟังได้           เรามาพูดคุยกับโจ้และเน็ต ถึงโปรเจกต์น่าสนใจที่ชักชวนผู้คนมาเรียนรู้วิธีเขียน Freewriting เพื่อปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ข้างในออกมา พวกเขาใช้พื้นที่บ้านในย่านสวนหลวง ร.9 ทำเป็น Readery Studio บรรยากาศร่มรื่นและมีผนังด้านหนึ่งอัดแน่นไปด้วยหนังสือบนชั้นไม้สูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน มีพลังงานบางอย่างในสถานที่แห่งนี้ ที่ชวนให้รู้สึกว่าที่นี่คือบ้านของคนรักหนังสืออย่างแท้จริง ตอนนี้มีโปรเจกต์อะไรที่กำลังทำอยู่บ้าง           เน็ต : สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือคลาส Creative Writing…

บทเรียนชีวิตจากประสบการณ์ของ นภดล ร่มโพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิด OKRs

บทเรียนชีวิตจากประสบการณ์ของ ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิด OKRs

          เส้นทางชีวิตของ ศาสตราจารย์ ดร.นภดล ร่มโพธิ์ ก่อนมาเป็นอาจารย์สาขาวิชาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยผ่านประสบการณ์ทำงานเป็นวิศวกรทั้งในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนขนาดใหญ่ แต่หลังจากเรียน MBA ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และค้นพบความชอบด้านธุรกิจที่จุดประกายให้อยากเปลี่ยนวิชาชีพ จึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร จากนั้นจึงได้รับการชักชวนมาเป็นอาจารย์และสอนหนังสือมากว่า 20 ปีแล้ว           ตลอดระยะเวลาที่ทุ่มเทให้กับการสอนและการทำวิจัย จนได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น อาจารย์ผู้สอนดีเด่นของคณะ และครูดีเด่นแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์นภดลยังมีบทบาทเป็นนักเขียนหนังสือขายดีหลายเล่ม รวมถึงทำเพจ Nopadol’s Story ที่มีผู้ติดตามกว่า 100,000 คน ทั้งยังมีรายการพอดแคสต์เผยแพร่ความรู้อีกช่องทางหนึ่งด้วย เขายืนระยะอยู่กับการเขียนหนังสือมานานถึง 10 ปี โดยมีผลงานพ็อกเก็ตบุ๊กวางขาย 17 เล่ม และได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแนวคิด OKRs (Objectives…

คุยกับ พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช เพื่อทำความรู้จักเคียร์เคอการ์ดและปรัชญาอัตถิภาวนิยม

คุยกับ พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช เพื่อทำความรู้จักเคียร์เคอการ์ดและปรัชญาอัตถิภาวนิยม

          ซอเรน เคียร์เคอการ์ด (Søren Kierkegaard) เป็นนักปรัชญาชาวเดนมาร์กที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1813 -1855 ชื่อเสียงเรียงนามของเขาอาจไม่คุ้นหูคนไทยเท่าไรนัก แต่แนวคิดของเคียร์เคอการ์ดนั้นมีหลายแง่มุมน่าสนใจและชวนขบคิด ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) แนวทางหนึ่งของปรัชญาที่มุ่งศึกษามนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล โดยเชื่อว่าการตระหนักรู้ถึงเสรีภาพ ทางเลือก และความรับผิดชอบของตน จะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองและค้นพบเป้าหมายชีวิตได้            เคียร์เคอการ์ดเขียนหนังสือปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก ผลงานของเขามีความน่าสนใจตรงการนำเสนอแนวคิดสดใหม่ที่ตรงข้ามกับแนวคิดกระแสหลักในยุคสมัยนั้น เช่น การวิพากษ์ว่าศาสนาคริสต์แบบที่คนส่วนใหญ่นับถือ ตีกรอบให้คนเชื่อและทำอะไรเหมือนๆ กัน ซึ่งทำให้เขาขัดแย้งกับคนรอบตัวเพราะใช้วิธีการอธิบายศาสนาแตกต่างจากคนอื่น            การวิพากษ์ประเด็นต่างๆ ทางสังคมและการตั้งคำถามเชิงปรัชญากับสิ่งรอบตัว เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สังคมมนุษย์มีพัฒนาการทางความคิด และช่วยให้ปัจเจกบุคคลได้ฝึกทักษะการใช้เหตุผล โอกาสนี้เราจึงชวน พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช หนึ่งในผู้แปลหนังสือ ‘เคียร์เคอการ์ด ฉบับกระชับ’ โดย แพทริก การ์ดิเนอร์ (Patrick…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก