คาลิล พิศสุวรรณ

คาลิล พิศสุวรรณ

นักศึกษาปริญญาโทสาขาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ใช้ชีวิตอยู่เชียงใหม่ กรุงเทพฯ และนครศรีธรรมราช พร้อมกับเป็นนักเขียนที่สนใจชีวิตแบบยั่งยืนกับไอแอลไอยู

ประวัติศาสตร์โลกในประวัติศาสตร์ไทย เรียนประวัติศาสตร์อย่างไรให้เกิดประโยชน์

ประวัติศาสตร์โลกในประวัติศาสตร์ไทย เรียนประวัติศาสตร์อย่างไรให้เกิดประโยชน์

          จำได้ไหมว่า คุณได้ยินคำว่าประวัติศาสตร์ครั้งแรกเมื่อไหร่           ฟังดูเป็นคำถามง่ายๆ แต่พอลองนึกย้อนกลับไป คำตอบของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน คนหนึ่งอาจบอกว่า เคยได้ยินคำนี้จากการ์ตูนสักเรื่องหนึ่งที่เคยอ่านในวัยเด็ก ขณะที่บางคนอาจบอกว่า รู้จักคำว่าประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกจากวิชาสังคมศึกษาสมัยประถม แต่ไม่ว่าครั้งแรกที่แต่ละคนรู้จักคำนี้จะเป็นอย่างไร ประวัติศาสตร์ดูเหมือนจะเป็นคำที่วนเวียนอยู่ในชีวิตของพวกเราอย่างน้อยก็พักใหญ่ๆ คำถามต่อไปที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ แล้วประวัติศาสตร์ที่ว่า หมายถึงประวัติศาสตร์อะไรกันล่ะ           สำหรับผู้เขียนเมื่อลองมองย้อนกลับไป ด้วยความที่เรียนอยู่ในระบบการศึกษาไทย ในโรงเรียนรัฐทั่วไป ปฏิเสธไม่ได้ว่า คำว่าประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนได้ยินเป็นครั้งแรกๆ ดูจะผูกโยงอยู่กับ ‘ความเป็นไทย’ เป็นพิเศษ คนไทยมาจากไหน ประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร ไล่ตามไทม์ไลน์มาจนถึงอยุธยา สุโขทัย คงไม่ผิดอะไรหากจะบอกว่า ประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนรับรู้เป็นครั้งแรกๆ ดูจะวนเวียนอยู่กับอะไรไทยๆ ในความหมายที่รัฐอยากให้นักเรียนไทยจดจำ           ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่างแนวทางบริหารจัดการ แยกวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ออกจากกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ให้เป็นอีกหนึ่งวิชาเรียนที่มีจุดประสงค์ชัดเจนคือการปลูกฝังความรักชาติให้กับเยาวชนไทย…

สักวันเราจะเล่าทุกอย่างสู่กันฟัง – แด่ความเปลี่ยนแปลง และไม่ชัดเจนของชีวิต

สักวันเราจะเล่าทุกอย่างสู่กันฟัง - แด่ความเปลี่ยนแปลง และไม่ชัดเจนของชีวิต

          ฤดูร้อนปี 1990 ไม่กี่เดือนให้หลังจากวันที่กำแพงเบอร์ลินล่มสลาย ‘มาเรีย’ เด็กสาววัย 16 ปลายกำลังจะก้าวพ้นสู่วัยผู้ใหญ่ มาเรียนั้นยังเรียนหนังสืออยู่ ทว่าเมื่อ ‘โยฮันเนส’ แฟนหนุ่มของเธอเอ่ยปากบอกว่า “วันนี้จะไม่พาเธอกลับบ้านนะ พ่อแม่อยากรู้จักเธอแหละ” มาเรียก็ตกลงปลงใจอยู่อาศัยในชายคาเดียวกับโยฮันเนสนับตั้งแต่นั้น           ห่างไกลจากบ้านเกิดที่หากจะกลับไปก็ต้องใช้เวลาเดินเท้ากว่าสี่สิบนาที แล้วไม่เพียงแต่ชีวิตของเด็กสาวจะต้องอยู่กับความจริงที่ว่า นอกจากพ่อแม่จะหย่าร้างกันแล้ว พ่อของมาเรียซึ่งหายตัวไปจากบ้านเพื่อเดินทางไปสหภาพโซเวียต อยู่ๆ ก็จะกลับมาพร้อมกับแฟนสาวคนใหม่ที่อายุไล่เลี่ยกับเธอ แม่บอกกับมาเรียว่า เขาคงไปทำให้เด็กสาวนั่นท้อง แต่มาเรียไม่สนใจหรอก เพราะชีวิตของเธอช่างว่างเปล่าเสียยิ่งกว่าจะรู้สึกอะไรด้วยซ้ำ อยู่กินกับฝันกลางวันของแฟนหนุ่มที่อยากจะเป็นช่างภาพที่ยิ่งใหญ่ให้ได้สักวัน ในขณะที่ฝั่งมาเรียนั้นกลับไม่อยากจะทำอะไรสักอย่างนอกเสียจากนั่งอ่านพี่น้องคารามาซอฟให้จบไป           “ฉันสงสารเห็นใจแม่ ฉันอยากจะตอบกลับไป ฉันอยากจะเสนอทางออกให้ ฉันถึงกับรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบ ต้องมีแผนอนาคต แต่ท้ายที่สุดฉันก็ออกจากบ้านมาแล้ว ด้วยอายุสิบหกนี่แหละ ปกติคนเราไม่ออกจากบ้านกันตอนอายุสิบหกหรอกนะ ถ้าไม่มีแผนว่าจะทำอะไรน่ะ แต่ตัวฉันไม่มีแผนการอะไรกับอนาคตเลย ฉันรู้สึกว่างเปล่าที่สุด”…

‘ชีวิตเร้นลับของต้นไม้’ ต้นไม้ซับซ้อน ชีวิตซ่อนเร้น

ชีวิตเร้นลับของต้นไม้ – ความซับซ้อนของต้นไม้ และชีวิตซ่อนเร้นอีกมากมายบนโลกนี้

          เมื่อไม่กี่ปีก่อน ผู้เขียนได้อ่านเรื่องเล่าของอัลเฟรด เออร์วิง ฮัลโลเวลล์ (Alfred Irving Hallowell) นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่เขียนเล่าเรื่องราวระหว่างที่เขาลงพื้นที่ศึกษาอินเดียนแดงเผ่าโอจิบเว (Ojibwe) ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา ฮัลโลเวลล์เล่าว่า เขาได้สานสัมพันธ์กับ วิลเลียม เบเรนส์ (William Berens) หัวหน้าของชาวอินเดียนแดงผู้รอบรู้สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราวของธรรมชาติอย่างชีวิตของสัตว์ป่า ต้นไม้ใบหญ้า แต่ที่ดูจะแปลกไปกว่าสิ่งอื่นๆ คือ ฮัลโลเวลล์รอบรู้ในเรื่อง ‘หิน’           อย่างไรก็ตาม ความรู้เรื่องหินของฮัลโลเวลล์ไม่ได้หมายความว่า เขาเชี่ยวชาญในเรื่องธรณีวิทยาอะไรพรรณ์นั้น แต่เพราะในภาษาของชาวโอจิบเว ความหมายของหินคือ ‘สิ่งมีชีวิต’ (Animated Entity) ซึ่งเคลื่อนไหวได้ หาใช่วัตถุนิ่งๆ แข็งๆ ที่แน่นิ่งไม่เคลื่อนไหวอย่างที่เราคุ้นเคยกัน            ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า แม้ว่าสำหรับชาวโอจิบเว ก้อนหินจะหมายถึงสิ่งมีชีวิต…

Crying in H Mart อาหาร วัฒนธรรม และความทรงจำถึงแม่ที่จากไป

Crying in H Mart อาหาร วัฒนธรรม และความทรงจำถึงแม่ที่จากไป

          ความกลัวว่า สักวันหนึ่งคนที่เรารักจะตายจากไปน่าจะเป็นหนึ่งในความกลัวสากลที่สุดในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ หรือคนรัก การจินตนาการว่าสักวันบุคคลเหล่านี้จะหายจากชีวิตเราไปดูจะเป็นอะไรที่น่าหวาดหวั่น หรือเผลอๆ อาจถึงขั้นน่าสะพรึงกลัว           ความตายไม่เคยเป็นเรื่องง่ายดาย ซึ่งมิเชลล์ ซอเนอร์ก็ดูจะกระจ่างแจ้งเรื่องนี้เป็นอย่างดี น่าเศร้าตรงที่เธอกลับตระหนักถึงน้ำหนักของมันในวันที่สาย วันที่คำว่าแม่เปลี่ยนสถานะไปสู่ความทรงจำ เสียงแว่ว ความฝัน และรสสัมผัสบนปลายลิ้นที่บางครั้งก็ระลึกนึกขึ้นได้            ระลึกได้ ทว่าก็ห่างไกลเกินกว่าจะคว้าจับอะไรไว้ได้อีกแล้ว อาหารที่คอยเยียวยา           Crying in H Mart คือหนังสือเล่มแรกของ มิเชลล์ ซอเนอร์ (Michelle Zauner) หญิงสาวผู้เป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องนำของ Japanese Breakfast วงอินดี้ป๊อปสัญชาติอเมริกันที่เพิ่งจะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่อวอร์ดส์ สาขาวงอัลเทอร์เนทีฟยอดเยี่ยมแห่งปี 2022 ไปหมาดๆ กล่าวได้ว่า…

Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์

Collaborative Design รู้จักการออกแบบที่ให้คุณค่ากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากมนุษย์

          อย่างพื้นฐานที่สุด ‘การออกแบบ’ (Design) นั้นหมายถึง ‘การสร้างสรรค์’ แต่หากเราลองถอยออกมามองภาพที่กว้างกว่านั้น การสร้างสรรค์ที่ว่านี้อาจหมายความได้ทั้ง ‘การวางแผน’ ‘การต่อยอด’ ‘การพัฒนา’ ไปจนถึงอะไรอีกมากมาย ว่ากันตรงๆ การออกแบบเป็นคำที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งการจะนิยามคำนี้ให้อยู่ภายใต้คำจัดความที่สั้นกระชับและเข้าใจง่าย อาจไม่ใช่อะไรที่ง่ายอย่างที่มันควรจะเป็น           นั่นเพราะในแง่หนึ่ง การออกแบบเป็นคำที่ ‘ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง’ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ การวางแผน การต่อยอด และการพัฒนา ล้วนสะท้อนให้เห็นสิ่งสำคัญที่เรียกได้ว่าเป็น หัวใจ นั่นคือ ‘กระบวนการ’ (Process) ไม่ว่าคุณจะดีไซน์อะไร การออกแบบจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการ คือ การนิ่งคิด จินตนาการ และต่อจุดไปเรื่อยๆ จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมายปลายทาง โดยที่ขั้นตอนแต่ละอย่างในกระบวนการออกแบบก็มักจะหลากหลายและแตกต่าง ไม่ตายตัวเสมอไป           ท่ามกลางกระบวนการออกแบบมากมาย…

Walking Trip เดินเพื่อเรียนรู้และเข้าใจเมือง

          ท่ามกลางบรรยากาศอันร้อนระอุและความอันตรายของถนนในกรุงเทพฯ ‘การเดิน’ น่าจะเป็นกิจกรรมที่ใครหลายคนได้ยินแล้วเป็นต้องส่ายหัว แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่โครงสร้างพื้นฐานของมันดูจะไม่เอื้อต่อสองเท้าของเราด้วยแล้ว กล่าวคือ กรุงเทพฯ ทำให้กิจกรรมการเดิน ‘แปลกแยก’ กับชีวิตประจำวัน           ทว่าการเดินกับความเป็นเมืองไม่ควรจะถูกแยกขาดจากกัน ในขณะเดียวกัน คุณค่าที่การเดินมีกับเมืองก็สามารถเป็นได้มากกว่าแค่รูปแบบหนึ่งของการเดินทาง แต่มันคือ ‘แนวทาง’ ในการเรียนรู้ ศึกษา และทำความเข้าใจกับเมืองในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และการเมืองในชีวิตประจำวัน พูดอีกอย่างคือ การเดินเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยให้รู้จักเมืองของเรามากขึ้นนั่นเอง           ผ่านบทความนี้ ผู้เขียนจะพาไปทำความรู้จักกับ MIC Walking Trip ตัวอย่างหนึ่งของการใช้การเดินเพื่อทำความรู้จักกับกรุงเทพฯ ในมุมต่างๆ โดยศูนย์ข้อมูลมติชน (Matichon Information Center) ซึ่งอยากจะแบ่งปันข้อมูลและถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งอาจไม่เคยเป็นที่รับรู้มาก่อนเกี่ยวกับเมืองหลวงแห่งนี้ให้เป็นที่รับรู้มากขึ้นภายใต้การจัดกิจกรรม ความท้าทายของศูนย์ข้อมูลมติชน…

ยุโรปมีดีอะไร – ประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับสุดสั้น

ยุโรปมีดีอะไร - ประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับสุดสั้น

          หากได้ยินคำว่า ‘ประวัติศาสตร์ยุโรป’ คุณนึกถึงอะไร?           บางคนอาจคิดถึงโสเครตีส โฮเมอร์และตำนานปกรณัมจากอารยธรรมกรีกโบราณ แต่บางคนอาจบอกว่าเป็นจิตรกรรมและประติมากรรมของเหล่าศิลปินยุคเรอเนซองส์อย่างลีโอนาโด ดาวินชี และมีเกลันเจโลต่างหากที่วาบเข้ามาในหัวทันที ขณะที่บางคนก็อาจเห็นภาพของสงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามครูเสด สงครามร้อยปี หรือสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง            ประวัติศาสตร์ยุโรป แน่นอนว่าคำนี้เป็นคำใหญ่ มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากคำนี้จะทำให้เรานึกถึงพื้นที่ ยุคสมัย หรือเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ด้วยความใหญ่โตของมันนี่เองส่งผลให้ภารกิจในการบอกเล่าประวัติศาสตร์ยุโรปอย่างครบเครื่อง ครอบคลุม และกระชับ เป็นความท้าทายเสมอมา           จอห์น เฮิร์สท์ นักประวัติศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยลาโทรบ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ดูจะตระหนักถึงความไม่ง่ายในการถ่ายทอดเรื่องราวของประวัติศาสตร์ยุโรปเป็นอย่างดี เขาแสดงให้เห็นผ่าน หนังสือเล่มเล็กๆ อย่าง ‘ประวัติศาสตร์ยุโรปฉบับสุดสั้น’ เล่มนี้ว่า หากคุณจับกลุ่มประเด็นต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วค่อยๆ ร้อยเรียงมันไปตามลำดับเวลาอย่างใจเย็น…

ดูหนัง นั่งคุย นิ่งคิดกับ ‘ธิดา ผลิตผลการพิมพ์’ เรียนรู้ความแตกต่างหลากหลายผ่านโลกของภาพยนตร์และโรงหนัง

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ : ดูหนัง นั่งคุย นิ่งคิด เรียนรู้ชีวิตที่หลากหลายผ่านโลกของภาพยนตร์และโรงหนัง

          เมื่อได้ยินคำว่า ‘โรงหนัง’ คุณนึกถึงอะไร           บ้างอาจนึกถึงจอภาพยนตร์ขนาดยักษ์คุณภาพสูง บ้างอาจนึงถึงเก้าอี้นวมนุ่มๆ และแอร์ที่หนาวจับใจ และบ้างก็อาจนึงถึงสารพัดหนังฟอร์มยักษ์ที่คงจะฟินไม่น้อยหากได้ดูไปพร้อมๆ กับป๊อปคอร์นถังใหญ่เต็มสองมือ           พูดอีกอย่างว่า โรงหนังคือพื้นที่สำหรับประสบการณ์ความบันเทิง           ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่ภาพจำของโรงหนังจะเป็นเช่นนั้น แต่คำถามคือ จำเป็นแค่ไหนกันที่โรงหนังจะต้องเป็นพื้นที่ของความบันเทิงเพียงอย่างเดียว           ในยุคสมัยที่โรงภาพยนตร์กับห้างสรรพสินค้ามักจะถูกจับคู่อยู่ด้วยกันอย่างแยกไม่ขาด Doc Club & Pub คือโรงหนังขนาดกะทัดรัดที่เลือกเดินในเส้นทางที่ต่างออกไป นั่นเพราะ Doc Club & Pub ไม่ฉายหนังบล็อกบัสเตอร์ และไม่ได้ตั้งอยู่ในห้าง แต่โรงภาพยนตร์เลือกที่จะนำเสนอหนังและสารคดีที่หลากหลายและแตกต่าง และที่สำคัญคือ มีพื้นที่ให้อ้อยอิ่ง พูดคุย และถกเถียงกันได้ต่อหลังดูหนังจบ           “สำหรับเรา การดูหนังมันไม่ได้สิ้นสุดแค่สองชั่วโมง เพราะสิ่งสำคัญคือบทสนทนาที่เกิดขึ้นต่อจากนั้น ภาพยนตร์สามารถนำไปสู่การเรียนรู้ใหม่ๆ…

‘ในหนังมีศิลปะ’ เรียนรู้ศิลปะผ่านโลกภาพยนตร์

ในหนังมีศิลปะ เรียนรู้ศิลปะผ่านโลกภาพยนตร์

          ผมจำไม่ได้ว่าภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้ดูในชีวิตคือเรื่องอะไร จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าความรู้สึกแรกที่ได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียกว่าภาพยนตร์มอบความรู้สึกแบบใดกับผม เป็นไปได้ว่ามันอาจเกิดขึ้นในขวบวัยที่ผมยังไม่รู้จักความหมายของภาพยนตร์ด้วยซ้ำ แล้วก็เป็นไปได้อีกเช่นกันว่ามันอาจเป็นแค่หนังห่วยๆ สักเรื่องหนึ่ง           แต่จะว่าไป ต่อให้ผมจะรู้คำตอบว่าหนังเรื่องแรกที่ดูในชีวิตคือเรื่องอะไรก็ใช่ว่ามันจะสลักสำคัญอะไรนักหรอก เพราะรู้ตัวอีกทีภาพยนตร์ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมไปแล้ว รู้ตัวอีกที – ผมก็ยินดีที่จะโดดเรียนเพียงเพื่อจะได้ไม่พลาดดูหนังในเทศกาลภาพยนตร์ กระตือรือร้นกับการวิเคราะห์ภาพยนตร์มากกว่าตั้งคำถามกับบทเรียน สนุกกับการโหลดหนังมาดูมากกว่าโหลดเปเปอร์มาอ่าน           รู้ตัวอีกที – ภาพยนตร์ก็กลายเป็น ‘การเรียนรู้นอกห้องเรียน’ ที่แสนจะทรงคุณค่าสำหรับผม           แน่นอนว่า ประสบการณ์ที่เราทั้งคู่มีต่อภาพยนตร์ย่อมจะแตกต่างกัน ถึงอย่างนั้น ในระหว่างที่ผมพลิกหน้ากระดาษของ ในหนังมีศิลปะ: งานศิลปะที่แฝงกายใต้พื้นผิวภาพยนตร์ ไปเรื่อยๆ ผมก็รู้สึกเชื่อขึ้นมาอย่างสนิทใจว่า ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ น่าจะเทิดทูนภาพยนตร์ไม่ต่างไปจากผมนัก นั่นคือ ภาพยนตร์ในฐานะของประตู หน้าต่าง และบันได ที่จะทอดพาเราไปสู่สิ่งอื่นๆ ที่โพ้นไกลเกินกว่าตัวมันเอง…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก