โครงการ Content Creator

โครงการ Content Creator

ขบวนการหนังอิสระเมืองหาดใหญ่ @Lorem Ipsum มากกว่าความบันเทิง คือพื้นที่เรียนรู้ชีวิตอันหลากหลาย

ขบวนการหนังอิสระเมืองหาดใหญ่ @Lorem Ipsum มากกว่าความบันเทิง คือพื้นที่เรียนรู้ชีวิตอันหลากหลาย

          ย้อนกลับไปวัยเด็กเราไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับ “การดูหนัง” เลย กว่าจะได้มีโอกาสเข้าไปในโรงหนังครั้งแรกก็เป็นช่วงวัยรุ่น ในปีที่ “ไททานิค (2540)” เข้าฉายที่ “ไดอาน่า หาดใหญ่” เป็นความทรงจำที่ไม่มีวันลืม           สมัยเด็กโรงหนังอยู่ใกล้บ้านมากแต่เรามาจากครอบครัวที่มองว่าโรงหนังเป็นที่อโคจร สื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์เป็น “สิ่งต้องห้าม” ทั้งๆ ที่หาดใหญ่ยุคสมัยนั้นมีโรงหนัง Stand Alone ที่รุ่งเรืองมาก วัยรุ่นจากพื้นที่รอบนอกเดินทางเข้าเมืองหาดใหญ่เพื่อดูหนัง ป้ายหนังสวยงามที่วาดด้วยมือเป็นศิลปะน่าภาคภูมิใจ แต่เราไม่เคยได้มีโอกาสได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้น           6 ปีให้หลังเราได้ดูหนังเรื่องที่สอง “กุมภาพันธ์ (2546)” เป็นการดูหนังคนเดียวครั้งแรก ที่ “ลี การ์เดนส์ พลาซ่า” แล้วจึงได้ดูอีกเรื่อง “จดหมายรัก (2547)” สมัยเรียนมหาวิทยาลัยที่จังหวัดปัตตานี ในช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนที่ “โรงหนังปัตตานีรามา”…

The LITTLE Gallery – Silent Auction

the LITTLE gallery – Silent Auction

          โรงเรียนเราตั้งอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศไทย ตึกทุกตึกในโรงเรียนถูกสร้างมาจากดินก่อขี้นภายใต้หลังคาไม้ไผ่ โต๊ะและเก้าอี้ทุกตัวก็ทำมาจากไม้ไผ่เช่นกัน โรงเรียนของเราให้ความสำคัญกับ”ธรรม-ชาติ” เรามีผืนนาที่ชุมชนของเราได้ร่วมกันดำนาปลูกข้าวเพื่อนำมาหุงมื้อกลางวันทานในโรงเรียน เรามีสถานีสิ่งของที่นำกลับมาใช้หรือประดิษฐ์ใหม่อยู่หลายๆ มุมทั่วโรงเรียน เรามีป่าไผ่ที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นช่วงเวลาพักและมักลงเอยด้วยการสร้างอาณาเขตเผ่าตนเอง           ในทุกๆ วันศุกร์คาบสุดท้ายของเราจะเป็นวิชาที่มีชื่อว่า “Becoming an Expert” ซึ่งเด็กนักเรียนชั้นประถมต้นได้ใช้เวลาประมาณ 55 นาที ในการเลือกหัวข้อ ค้นคว้า ทดลอง และลงมือทำโปรเจกต์ที่ตัวเองสนใจ อะไรก็ได้ที่มีขอบเขตในรั้วโรงเรียนและปลอดภัยต่อตนเองและชุมชน โดยมีคุณครูทั้งระดับชั้นประถมเป็นผู้ช่วยและให้การสนับสนุนตามแต่เด็กๆ จะร้องขอความช่วยเหลือ ในวิชานี้คุณครูจะไม่มีหน้าที่ในการสอนใดๆ แต่สามารถลงมือทำและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กๆ ได้           เรามาลองจินตนาการสิ่งที่เด็กๆ สนใจลงมือทำกันนะคะ โปรเจกต์มีตั้งแต่การทดลองทำขนมและนำไปขายหน้าโรงเรียนเพื่อนำเงินไปช่วยสัตว์จรจัด การทดลองลงมือทำของเล่นจากเศษไม้ที่หาได้ในป่าไผ่ของเรา โดยฝึกใช้เครื่องมือจากมุมช่างภายใต้ศาลาเรียนของคุณครูผู้สอนวิชาทักษะชีวิต (Life Skills) การทำเครื่องประดับจากอะไรก็ได้รอบตัว ใครรักขนมไทยก็จะต้องลองหาข้อมูลแล้วฝึกทดลองทำขนมตามแต่ความชอบ(ทาน)ของตน เสร็จสรรพหน้าเตาก็จะได้เดินไปขายขนมให้คุณครูในโรงเรียนลองชิม…

สอนวรรณคดีไทยให้ใกล้หัวใจ Generation Z

สอนวรรคดีไทยให้ใกล้หัวใจ Generation Z

          “วรรณคดีไทย” แค่ได้ยินคำนี้ก็ชวนให้รู้สึกกระสับกระส่าย หายใจไม่ทั่วท้อง และคงยากที่จะเข้าถึงสำหรับเด็กในยุคที่ไถไอจีไปก็เต็มไปด้วยข้อความสั้นๆ ชิคๆ คูลๆ ให้แชร์เต็มหน้าฟีด โดยไม่ต้องสรรหางานเขียนที่พรรณนาเรื่องราวไว้ยาวเหยียดด้วยถ้อยคำภาษาคร่ำครึ ตลอดจนการร้อยเรียงด้วยฉันทลักษณ์ที่ไม่คุ้นตา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากการเรียนวิชาภาษาไทย โดยเฉพาะกับเนื้อหาที่เป็นวรรณคดีนั้นจะเปรียบเสมือนโลกคู่ขนานสำหรับเด็กไทยในยุคนี้           จากโจทย์ข้างต้นนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายแต่ก็ไม่ได้ยากเกินไปนักสำหรับครูภาษาไทยในยุคนี้ เพราะด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของโลกปัจจุบัน นับว่ามีส่วนช่วยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้น่าสนใจและเข้าถึงผู้เรียนได้เป็นอย่างดี           หากแต่สิ่งที่สำคัญที่ครูควรเน้นย้ำให้ผู้เรียนในทุกๆ คาบเรียน นั่นก็คือการสอดแทรกกระบวนการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญมากในยุคปัจจุบัน อันจะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถนำเรื่องที่ได้เรียนรู้นั้นไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนใช้กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวแสวงหาความรู้ในเรื่องอื่นๆ ต่อไป           ผู้เขียนมีไอเดียในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาวรรณคดีที่ทั้งสนุกและสอดแทรกไปด้วยทักษะต่างๆ ที่ครูภาษาไทยสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองได้ไม่ยาก ซึ่งนำมาจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนของตนเอง           โดยวรรณคดีที่ผู้เขียนจะนำมาเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก็คือ “บทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัทนะพาธา” ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ปรากฏอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งนี้ผู้เขียนขอแบ่งเนื้อหาในการเรียนรู้ออกเป็น 3 คาบเรียน โดยคาบเรียนที่ 1 เป็นการเล่าถึงที่มาที่ไปของวรรณคดีเรื่องดังกล่าว…

ความทรงจำ ณ หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้

ความทรงจำ ณ หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้

          ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ศึกษาที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ช่วงปี พ.ศ. 2544-2547 โดยอาศัยอยู่ที่หอพักหน้าโรงเรียน หลังเลิกเรียน ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ มักจะไปกินข้าวที่โรงอาหารลานอิฐ ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จ พวกเราจะเดินไป หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ (John F. Kennedy Library) หรือบางคนเรียกสั้นๆ ว่า หอ เอฟ ซึ่งเมื่อได้ยินชื่อครั้งแรก ข้าพเจ้าก็มีความรู้สึกสงสัยว่า ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ เกี่ยวข้องอะไรกับหอสมุดแห่งนี้           ข้าพเจ้าสังเกตว่า บริเวณหอสมุดหลังเก่า มีภาพถ่าย ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ…

Hello Library เป็นบรรณฯ มันหนุก (จริงๆ นะ) พอดแคสต์บอกเล่าเบื้องหน้าเบื้องหลังห้องสมุด

Hello Library เป็นบรรณฯ มันหนุก (จริงๆ นะ) จากเบื้องหน้าสู่เบื้องหลังของห้องสมุดผ่านพอดแคสต์

          พอดแคสต์ กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ด้วยลักษณะของสื่อที่อยู่ในรูปแบบเสียง เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตบนหลากหลายแพลตฟอร์ม เข้าถึงได้ฟรี สามารถรับฟังได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมกับทำกิจกรรมอื่นๆ ไปด้วย ซึ่งถือว่าตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่เน้นเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว และไม่เสียเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่นด้วย           และด้วยแนวโน้มความนิยมของพอดแคสต์ที่มีมากขึ้นนี้เอง ทำให้หลายๆ ห้องสมุดได้ใช้พอดแคสต์ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของห้องสมุด ซึ่งผู้เขียนในฐานะบรรณารักษ์ห้องสมุด ก็ได้รับโจทย์ในการจัดทำพอดแคสต์ของห้องสมุดด้วยเช่นกัน           จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาลักษณะพอดแคสต์ของห้องสมุดหลายๆ แห่งในประเทศไทย ได้เห็นว่าพอดแคสต์ในบริบทของห้องสมุด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ การหยิบยกเกร็ดความรู้ต่างๆ มาเล่าสู่กันฟัง หรือการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ต่างๆ           ส่วนองค์ประกอบที่ทำให้พอดแคสต์นั้นมีความน่าสนใจมากขนาดไหน เริ่มตั้งแต่เทคนิคการเรียบเรียงบทพูด ถ่ายทอดผ่านน้ำเสียงและจังหวะที่ผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างดี เพื่อให้สื่อเสียงมีความน่าสนใจ อาศัยเทคนิคการตัดต่อ ลำดับเนื้อหาให้มีความยาวพอประมาณ ที่ฟังแล้วไม่รู้สึกว่าตัดจบไวเกินไป หรือว่าเยิ่นเย้อเกินไป ในส่วนนี้ ผู้เขียนขอเล่าถึงพอสังเขป ไม่ลงรายละเอียดเชิงลึก เพราะสิ่งที่อยากนำเสนอสำหรับบทความนี้ อยู่ที่แนวคิดการทำพอดแคสต์ของห้องสมุดที่ผู้เขียนสังกัดอยู่ คือ…

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า “โอกาส และความประทับใจ”

สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า “โอกาส และความประทับใจ”

          ค่ำคืนหนึ่งขณะที่ฉันกำลังเลื่อนดูข้อความในหน้าเฟซบุ๊ก ฉันได้เห็นข้อมูลของ สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของโอกาส และความประทับใจต่อ TK Park           ฉันเป็นสมาชิกสถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park มานานกว่า 3 ปี ที่ผ่านมาไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ กับที่นี่เลยสักครั้ง ฉันใช้บริการหลักเพียงการยืมหนังสือและนั่งอ่านหนังสือภายในห้องสมุดเท่านั้น ตามสไตล์มนุษย์อินโทรเวิร์ต (Introvert) ที่ค่อนข้างเก็บตัวเงียบ และไม่ร่วมกิจกรรม ความคิดที่จะดำเนินชีวิตแบบมนุษย์ถ้ำผู้เก็บตัวของฉันเริ่มถูกสั่นคลอน เมื่อฉันไปเห็นงานกิจกรรมหนึ่งแล้วรู้สึกสนใจอย่างมาก  นั่นคือ “โครงการ Creative Writing เขียนอย่างไร ให้ขายได้จริง” จัดอบรมรวม 2 วัน (วันที่ 12 และ 19 มีนาคม…

ดอกไม้มหัศจรรย์กับกิจกรรม STEAM บ้านเรา

ดอกไม้มหัศจรรย์กับกิจกรรม STEAM บ้านเรา

          “ดอกอัญชัน ดอกไม้วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ ใครจะรู้ว่าต้นไม้เล็กๆ จะสามารถสร้างการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ได้จากเมล็ดเล็กๆ สู่อาหารและการทดลองไม่รู้จบ”           เรื่องของดอกไม้มหัศจรรย์ “ดอกอัญชัน” เป็นหนึ่งในบรรดาดอกไม้ที่มีคุณค่าในแง่วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อาหาร และสมุนไพร เกิดจาก STEAM Kids House หรือบ้านแห่งการเรียนรู้กิจกรรม STEAM ของน้องแก้มหอมและน้องชะเอมกับคุณพ่อนักวิทยาศาสตร์ นักกิจกรรมที่มีใจรักวิทยาศาสตร์และมีความเข้าใจเด็กๆ ร่วมกันลงมือทำกิจกรรมดีๆ           จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เรื่องดอกอัญชันครั้งแรก เกิดจากบ้านของคุณตาที่ปลูกต้นอัญชันไว้เต็มแนวรั้ว แผ่ดอกซ้อนสีม่วงเข้มสวยงามละลานตา เมื่อเวลาผ่านไปจนดอกอัญชันร่วงก็จะเกิดเป็นฝักแก่ให้เด็กๆ ได้เก็บกันอย่างสนุกสนาน และเด็กๆ ก็ผุดไอเดียที่อยากจะแบ่งปันดอกไม้มหัศจรรย์นี้ให้แก่เพื่อนๆ และคนที่รักของทั้งสองคน           เด็กๆ เริ่มเก็บสะสมฝักอัญชันแก่จนเป็นกอบเป็นกำ ก่อนจะเริ่มลงมือเพาะเมล็ดด้วยตนเอง ด้วยแรงสนับสนุนของคุณพ่อและคุณแม่ในการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม ด้วยคุณพ่อเองเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก “กิจกรรมเด็ก STEAM Kids”…

โครงงานอย่างง่ายกับการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

โครงงานอย่างง่ายกับการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

          ความท้าทายของการสอนประวัติศาสตร์ คือ ความไม่ชอบวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมาก สาเหตุหลักมาจากวิธีการสอนของครู โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูจำนวนน้อย ครูหลายท่านไม่ได้สอนวิชาเอกของตัวเอง ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งต่อครูผู้สอนและตัวนักเรียน ไม่เฉพาะวิชาประวัติศาสตร์ แต่รวมถึงวิชาอื่นที่มีจำนวนหน่วยกิตน้อย เช่น วิทยาการคำนวณ ศิลปะ การงานอาชีพ ดนตรี นาฏศิลป์ หน้าที่พลเมือง เป็นต้น ครูแต่ละท่านมีความถนัดในวิชาเอกที่ไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าการสอนวิชาอื่นครูสามารถทำได้ แต่ต้องยอมรับว่าไม่ลึกซึ้งเท่ากับการได้เรียนกับครูผู้สอนที่สอนตรงวิชาเอกนั้นจริงๆ ปัญหานี้เป็นปัญหาสำคัญของการศึกษาไทยที่ไร้การแก้ไข เป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างช้านาน           คาบเรียนแรกของวิชาประวัติศาสตร์กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่ง การแนะนำรายวิชาและเนื้อหาที่จะเรียนได้สร้างความสงสัยให้กับนักเรียนอย่างน้อยหนึ่งคน เด็กชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ยกมือขึ้นพร้อมถามด้วยคำถามที่น่าประทับใจว่า            “ครูครับ เราเรียนประวัติศาสตร์ไปทำไม ในเมื่อมันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว ทำไมเราไม่เรียนวิชาปัจจุบัน หรือวิชาอนาคต”          …

ไดอารีชีวิต (การสอน) : วิชาพลเมือง ที่ไม่ใช่อย่างที่ทุกคนคิด

          ช่วงใกล้เรียนจบปริญญาเอก อันที่จริงเรามีที่ทางที่ต้องไปใช้ทุนที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่ด้วยความบังเอิญหรือโชคชะตาก็สุดแท้แต่ ทำให้ต้องมาเริ่มต้นชีวิตการทำงานแบบนับหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตอนสัมภาษณ์งาน คณบดีถามว่าสอนวิชาพลเมืองได้ไหม เราก็ตอบไปทันทีว่า วิชาที่สอนให้คนเป็นคนดีน่ะเหรอ เพราะส่วนตัวเรียนปรัชญามาด้วย เลยไม่ได้ให้คุณค่าในคำว่าดี เพราะไม่รู้ว่าคำว่าคนดี หรือความดีของแต่ละคนมีบรรทัดฐานอย่างไร           สุดท้ายแล้ว เราก็กลายร่างมาเป็นคนออกแบบวิชาการเป็นพลเมือง เพื่อไม่ให้นักศึกษาเข้าใจผิดไปว่า เราเป็นพวกนิยมชมชอบและบูชาในคุณงามความดีของมนุษย์ เลยเขียนหลักสูตรให้ออกแนวอินเตอร์หน่อย เอาเรื่องราวจากต่างประเทศมาเล่าสู่กันฟัง จากการเรียนเรื่องพลเมืองเลยกลายเป็นเรียนเรื่องสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ เพศสภาพ ความหลากหลายทางศาสนา การจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การจัดการกับความเครียด ความยั่งยืน ฯลฯ เอาเป็นว่า ถ้าใครได้มาเห็นหลักสูตรยานแม่ของเราแล้วก็คงปวดหัว เพราะมันเป็นการเรียนรู้หลายๆ เรื่องที่ไปไม่สุดสักทาง           ปีนี้ก็เป็นปีที่ 6 แล้วที่ทำการเรียนการสอนในวิชานี้ สิ่งที่ค้นพบคือ วิชานี้ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ไปพร้อมๆ กับการจัดการความรู้สึก…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก