วัฒนชัย วินิจจะกูล

วัฒนชัย วินิจจะกูล

นักอ่านเจนเอ็กซ์ รังเกียจการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมและวัฒนธรรมอำนาจนิยมทุกรูปแบบ อดทนอ่านงานวิชาการได้ดี แต่ไม่ค่อยมีปัญญาสังเคราะห์เอามาใช้

‘เหมือนดาวส่องแสงอยู่ทั่วฟากฟ้า’ แรงบันดาลใจจากชีวิต ‘องุ่น มาลิก’ ถึงคนทำงานเพื่อสังคม

‘เหมือนดาวส่องแสงอยู่ทั่วฟากฟ้า’ แรงบันดาลใจจากชีวิต ‘องุ่น มาลิก’ ถึงคนทำงานเพื่อสังคม

          “ครูจะไม่เขียนชีวประวัติเอาไว้บ้างหรือครับ”           ไม่มีคำตอบจาก ‘ครูองุ่น มาลิก’ ส่อว่าไม่อยากพูดถึง ไม่นานหลังจากนั้น ในสมุดปกอ่อนที่เธอใช้เขียนงานและบันทึกต่างๆ มีบทกวีที่บ่งบอกถึงความผูกพันกับผืนดินและธรรมชาติรายรอบบ้านบนที่ดินในซอยทองหล่อ…           “…มองเหมือนดาว ส่องแสงอยู่ ทั่วฟากฟ้า           นี่หรือคือ อุทยานสวนใจ แห่งแผ่นดินและดวงดาวมอบให้เธอ”           ผู้หญิงชื่อสกุลแปลกและแสนสะดุดหูคนนี้ เกี่ยวข้องกับผู้คนมากมายหลายรุ่น มีทั้งศิลปิน นักคิด นักการเมือง นักเขียน ปัญญาชน บางคนเคยได้รับความช่วยเหลือโอบอุ้มในยามคับขัน หลายคนในจำนวนนี้ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกว้างขวาง แต่คนทั่วไปน้อยคนนักจะรู้จักครู – องุ่น มาลิก           หนังสือสาระนิยาย “เหมือนดาวส่องแสงอยู่ทั่วฟากฟ้า” เป็นเรื่องราวประวัติชีวิตของ องุ่น มาลิก ซึ่งมีชีวิตดั่งนิยาย ในวัยแรกสาวจำต้องออกเรือนแต่งงานกับพระยาอายุคราวพ่อ…

‘ภูสูง ห้วยลึก กับฝันที่ไปไม่ถึง’ ย้อนความคิดคำนึง บันทึกการต่อสู้จากเมืองสู่ป่า

‘ภูสูง ห้วยลึก กับฝันที่ไปไม่ถึง’ ย้อนความคิดคำนึง บันทึกการต่อสู้จากเมืองสู่ป่า

          หลายปีมานี้ มีหนังสือเกี่ยวกับความคิดและการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถึง 6 ตุลาคม 2519 รวมถึงเรื่องราวการต่อสู้ในเขตป่าเขาและบทบาทของเยาวชนคนหนุ่มสาวที่เข้าร่วมขบวนปฏิวัติกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ให้เลือกอ่านเป็นจำนวนมากและค่อนข้างหลากหลาย ทั้งที่ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ งานวิจัย รวมถึงงานเขียนในลักษณะบันทึกประสบการณ์ สารคดี บทสัมภาษณ์           นอกจากนี้  ยังมีสื่อรูปแบบอื่นนอกเหนือจากหนังสือ ที่สามารถสืบค้นเข้าถึงให้เลือกอ่านหรือดูได้โดยไม่ยากนัก เมื่อเทียบกับในอดีต           ในความเห็นส่วนตัว ดูเหมือนว่าคนรุ่นใหม่ที่เติบโตและเริ่มมีความคิดอ่านเป็นของตัวเองหลังรัฐประหาร 2557 จะให้ความสนใจ (และสงสัย) กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มากเป็นพิเศษ เหตุผลหนึ่งอาจมาจากภาพความรุนแรงหฤโหดเกินคาดคิด ซึ่งพวกเขาสามารถหาดูได้ทางอินเทอร์เน็ต อีกเหตุผลหนึ่งน่าจะมาจากคำอธิบายถึงที่มาและผลของเหตุการณ์ ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาและข้อชวนฉงนหลายเรื่อง           มิต้องพูดถึงในตำราเรียนสมัยมัธยม…

‘อ่าน-เปลี่ยน-แป้’ ปลุกคนแพร่ รักการอ่าน

‘อ่าน-เปลี่ยน-แป้’ ปลุกคนแพร่ รักการอ่าน

ผลสำรวจการอ่าน พ.ศ. 2561 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า แพร่ เป็นหนึ่งใน 10 จังหวัดที่มีนักอ่านมากที่สุด อยู่ในลำดับที่ 7 รองจากจังหวัดใหญ่ ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ภูเก็ต ขอนแก่น สระบุรี อุบลราชธานี ส่วนผู้ที่ศึกษาประวัตินักประพันธ์ไทย จะทราบกันดีว่า จังหวัดแพร่เป็นบ้านเกิดของนักเขียนชื่อดัง – โชติ แพร่พันธุ์ เจ้าของนามปากกา ‘ยาขอบ’ ผู้เขียนนิยาย ‘ผู้ชนะสิบทิศ’ และ ‘สามก๊ก (ฉบับวณิพก)’ เรื่องแรกนั้นมีการนำไปสร้างเป็นละครทีวีหลายครั้ง แต่ละครั้งมีผู้ชมติดตามอุ่นหนาฝาคั่ง ในยุคสมัยที่โทรทัศน์ยังเป็นสื่อหลักที่ทรงอิทธิพลต่อสังคม ขณะที่เรื่องหลังก็มีแนวทางการเขียนอันโดดเด่น จนมีผู้นำไปใช้เป็นกรณีศึกษา หรือกระทั่งเลือกหยิบไปประยุกต์ใช้ในสไตล์การเขียนของตน เข้าสู่ยุคดิจิทัล รูปแบบและพฤติกรรมการอ่านหนังสือเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตแทบจะสิ้นเชิง……

‘ลิเบอร์เต้บุ๊คส์’ ร้านหนังสือมือสองออนไลน์ของชายผู้หลงใหลประวัติศาสตร์

‘ลิเบอร์เต้บุ๊คส์’ ร้านหนังสือมือสองออนไลน์ของชายผู้หลงใหลประวัติศาสตร์

จากเพจเฟซบุ๊กที่แชร์เอกสารบทความวิชาการให้โหลดอ่านฟรี ขยับขยายมาเป็นแหล่งรวมหนังสือมือสอง ซึ่งคัดสรรตามรสนิยมของ ทศพล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งเพจ ลิเบอร์เต้บุคส์ (Liberte Books) ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสน่ห์ของเพจร้านหนังสือออนไลน์แห่งนี้ นอกจากความหลากหลายของหนังสือแล้ว หนังสือจำนวนไม่น้อยยังบ่งบอกถึงความสนใจและแนวคิดของเจ้าของร้าน มีการแนะนำหนังสือเก่าที่หลายคนแทบไม่เคยรู้จัก และบางครั้งยังนำเอกสารวิจัยหรือบทความวิชาการชั้นดีที่หาได้ยาก มาให้ดาวโหลดอ่านกันฟรีอีกด้วย รายได้จากการขายทำให้การใช้ชีวิตในการเรียนของเขาไม่ขัดสนจนเกินไปนัก แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือการมีชุมชนของคนที่ชอบอ่านและสนใจในเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกัน ผ่านหนังสือและเอกสารที่เขาเลือกมานำเสนอ ทำให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนขยายความคิดออกไปกว้างไกลกว่าเดิม พิสูจน์ให้เห็นว่าหนังสือและความรู้นั้นจะไม่หยุดนิ่งตายซาก หากมีคนอ่านซ้ำ อ่านใหม่ และเข้ามาร่วมวิพากษ์ต่อเติม

แปลให้ดีในวิถีนักแปล มุมมองของ ‘ภัควดี วีระภาสพงษ์’

แปลให้ดีในวิถีนักแปล มุมมองของ ‘ภัควดี วีระภาสพงษ์’

งานแปลไม่ใช่งานลอก เบื้องหลังงานแปลที่ดีคือการทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะ ‘แปร’ และ ‘แปลง’ สารที่ผู้เขียนภาษาต้นทางมุ่งหวังจะสื่อสารกับผู้อ่านให้เกิดความเข้าใจตรงกันมากที่สุด กล่าวในแง่นี้ ความเชี่ยวชาญชำนาญการใช้ภาษาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็น แต่นั่นดูเหมือนยังไม่เพียงพอ เพราะการแปลนั้นหาใช่เพียงแค่การเปลี่ยนจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งเท่านั้น ผู้แปลยังต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงบริบททางวัฒนธรรม ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภาษา แม้กระทั่งปรัชญาวิธีคิดและชีวิตทางสังคมของผู้เขียนอีกด้วย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกมนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยการแปล เพราะความรู้และวิทยาการใหม่ๆ นั้นจะเกิดการแลกเปลี่ยนเคลื่อนย้ายข้ามภูมิศาสตร์กายภาพได้ก็ต้องอาศัยความเข้าใจซึ่งกันและกันผ่านการสื่อสารข้ามภาษา การแปลจึงเป็นเครื่องมือหรือเทคโนโลยีดั้งเดิมที่มนุษย์ใช้กันมาอย่างยาวนาน ภัควดี วีระภาสพงษ์ หนึ่งในนักแปลที่มีผลงานให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ เปิดบ้านให้สัมภาษณ์ถึงมุมมองความคิดที่มีต่อการทำงานแปล กระบวนการแปลที่ต้องมีการแสวงหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติม รวมถึงความละเอียดและเอาใจใส่ในการแปลเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งคุยถึงหนังสือ 3 เล่มที่เธอมีบทบาทเป็นผู้แปลและแปลร่วม ได้แก่ สามัญสำนึก (Common Sense) ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (A Brief History of Neoliberalism) และสมัญญาแห่งดอกกุหลาบ (The…

แนวโน้มความปกติใหม่ของการศึกษาและการเรียนรู้

แนวโน้มความปกติใหม่ของการศึกษาและการเรียนรู้

เทคโนโลยีการศึกษามีความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา แต่การเรียนออนไลน์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันอันเนื่องจากภาวะโรคระบาดเป็นสาเหตุที่เร่งให้มีการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม ผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับระบบการศึกษามากขึ้น จนถึงวันนี้ เราเริ่มคุ้นเคยกับการเรียนการสอนออนไลน์ และพบเห็นปัญหาและอุปสรรคของการเรียนการสอนลักษณะนี้ รวมทั้งเริ่มตระหนักถึงผลกระทบทั้งด้านบวกและลบของการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งถือเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ได้มาจากการลงมือปฏิบัติจริง …จะว่าไปแล้วนี่อาจเป็นตลกร้ายหรือแง่มุมที่ดูเหมือนคนโลกสวยจากผลพวงของมหันตภัยไวรัส อันที่จริง ต่อให้ไม่เกิดการระบาดของโควิด-19 โลกก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เดิมทีนั้นแวดวงการศึกษามักเป็นฝ่ายตั้งรับ หรือเป็นเพียงผู้เฝ้าดู และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างเชื่องช้า ทว่าปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าการศึกษาในระบบและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกิดความตื่นตัวและมีการปรับตัวรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม โควิด-19 อาจเปรียบได้กับสารเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้รูปแบบของการเรียนรู้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนมากกว่ายุคไหนๆ ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งเทคโนโลยีถูกนำมาใช้และได้รับความสนใจจากผู้เรียนจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แนวโน้มการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยี หลักสูตร และเนื้อหา สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของสังคม จนในที่สุดความเปลี่ยนแปลงนั้นก็จะกลายเป็นความปกติใหม่ (new normal) แต่สถานการณ์ที่ผ่านมาสอนให้เราทุกคนต่างตระหนักดีว่า ความปกติใหม่นั้นก็เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนเช่นกัน ระบบการศึกษาที่ดีจึงควรจะต้องทำความเข้าใจให้เท่าทันและปรับตัวให้คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น หากจินตนาการไปข้างหน้าถึงก้าวต่อไปของการศึกษาและการเรียนรู้ว่าควรจะมีรูปแบบอย่างไร เพื่อที่จะส่งเสริมให้เด็กๆ หรือผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นคนที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับโลกยุคต่อไปมากที่สุด

1 ห้องสมุด 1 พิพิธภัณฑ์ อัญมณีทางปัญญาของอาหรับเอมิเรตส์

1 ห้องสมุด 1 พิพิธภัณฑ์ อัญมณีทางปัญญาของอาหรับเอมิเรตส์

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE เป็นประเทศมหาเศรษฐี มีความมั่งคั่ง ร่ำรวย และให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ ดังตัวอย่างห้องสมุดประชาชน House of Wisdom ในเมืองชาร์จาห์ และพิพิธภัณฑ์ Museum of the Future ที่เมืองดูไบ ห้องสมุด House of Wisdom เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ส่วนพิพิธภัณฑ์ Museum of the Future เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 แหล่งเรียนรู้ทั้งสองแห่งสะท้อนให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของประเทศเล็กๆ บนคาบสมุทรอาหรับแห่งนี้ ในการพัฒนาคุณภาพประชาชนให้สอดคล้องไปกับการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบันและอนาคต แนวคิดหลักของ…

‘ทำงานแบบเครือข่าย สร้างการมีส่วนร่วม ใช้ความคิดสร้างสรรค์’ คือ DNA ของคน กศน.

ทิพวรรณ เตียงธวัช

          จนถึงวันนี้ ใครที่มีภาพจำหน่วยงานอย่าง กศน. ว่าเป็นองค์กรรัฐที่ทำเรื่องการศึกษานอกโรงเรียน ควรต้องคิดใหม่ เพราะภารกิจของ กศน. ไม่ได้มีเพียงแค่การส่งเสริมสนับสนุนให้คนรักเรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาได้มีโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกับคนอื่นเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การส่งเสริมอาชีพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทั้งประเทศ อีกด้วย           ภารกิจอันใหญ่โตกว้างขวางเช่นนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่หน่วยงานเพียงแห่งเดียวจะสามารถดำเนินการได้เองทั้งหมด มีเพียงหนทางเดียวคือจะต้องทำงานแบบเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วม บวกกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้มากที่สุด เพื่อทลายข้อจำกัดและอุปสรรคทุกประเภท           จึงกล่าวได้ว่า การทำงานแบบเครือข่าย เน้นสร้างการมีส่วนร่วม และตระหนักในพลังของการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้กลายเป็นดีเอ็นเอของคน กศน. ไปโดยปริยาย           ทิพวรรณ เตียงธวัช ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน. จังหวัดเชียงใหม่ บอกเล่าเรื่องราวการทำงานของ กศน. ในระดับจังหวัด ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะการทำงานของหน่วยงานนี้ในภาพใหญ่ระดับประเทศ แม้ว่าแต่ละจังหวัดแต่ละพื้นที่จะมีประเด็นปัญหาปลีกย่อยแตกต่างกัน และจำเป็นต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน…

Storytelling : การจัดการความรู้ด้วย ‘เรื่องเล่าเร้าพลัง’

Storytelling : การจัดการความรู้ด้วย ‘เรื่องเล่าเร้าพลัง’

          การเล่าเรื่องหรือเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) เป็นเครื่องมือหนึ่งซึ่งใช้ในการจัดการความรู้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อค้นหาบทเรียนและปัจจัยความสำเร็จจากเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านการเล่าเรื่อง           Storytelling เป็นเทคนิคในการดึงความรู้ที่ฝังลึกในตัวตน (Tacit Knowledge) ซึ่งอธิบายและแปลงเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือตัวเลขได้ยาก ให้กลายเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) สกัดเป็นความรู้ที่สามารถบันทึกและเก็บรวบรวมหรือถ่ายทอดได้ โดยทั่วไปมักเลือกเรื่องราวที่เป็นความสำเร็จหรือ Success Story เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สร้างบรรยากาศความคิดเชิงบวก และกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้           การจัดการความรู้ด้วยเรื่องเล่าเร้าพลัง มีรายละเอียดและขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อควรระมัดระวังอยู่หลายประการ ปกติแล้วจะมีการนำเครื่องมือทางจิตตปัญญาศึกษามาใช้ ซึ่งประกอบด้วย (1) สุนทรียสนทนา คือการพูดคุยกันบนหลักการความเชื่อมั่นและเคารพความเป็นมนุษย์ ยอมรับความแตกต่าง มองความสัมพันธ์ต่างๆ อย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวม (2) การฟังอย่างลึกซึ้ง คือฟังอย่างตั้งใจและใคร่ครวญ ไม่โต้แย้งหรือตัดสินเรื่องที่ฟังในขณะที่มีการสื่อสาร (3) การสะท้อนการเรียนรู้…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก