วัฒนชัย วินิจจะกูล

วัฒนชัย วินิจจะกูล

นักอ่านเจนเอ็กซ์ รังเกียจการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมและวัฒนธรรมอำนาจนิยมทุกรูปแบบ อดทนอ่านงานวิชาการได้ดี แต่ไม่ค่อยมีปัญญาสังเคราะห์เอามาใช้

พื้นที่สาธารณะ กิจกรรมสร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน กับคนรุ่นใหม่ในพะเยา ‘Phayao Lovers’

พื้นที่สาธารณะ กิจกรรมสร้างสรรค์ เศรษฐกิจชุมชน กับคนรุ่นใหม่ในพะเยา ‘Phayao Lovers’

จังหวัดพะเยาก็มีพื้นที่ปลูกกาแฟ ชาและกาแฟของพะเยาก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แต่ไม่ค่อยมีใครรู้… เป็นที่มาของอีเวนต์กาแฟชื่อ Phayao Coffee & Tea Lovers ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2563 และเพราะงานอีเวนต์นี้นี่เอง ที่ทำให้คนรุ่นใหม่จากหลากหลายสาขาอาชีพ ทั้งที่บางคนไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แต่ทั้งหมดมีความชอบเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือการทำกิจกรรม จึงได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน จนกระทั่งผูกพันรวมตัวกันเป็นกลุ่ม Phayao Lovers หลังจากอีเวนต์แรก พวกเขายังร่วมกันจัดงานสร้างสรรค์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในจังหวัด จนเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจ ด้วยแนวทางสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และค่อยๆ แก้ปัญหาอุปสรรคไปทีละเปลาะ ยิ่งทำให้คนกลุ่มนี้มั่นใจว่าเดินมาถูกทาง เพราะผลลัพธ์จากการจัดอีเวนต์ในพื้นที่สาธารณะ ไม่เพียงก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางตรงกับชุมชน โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหรือรายได้ แต่ยังมีผลพลอยได้ในเรื่องความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นของคนในชุมชน กลุ่ม Phayao Lovers เริ่มต้นมาจากอีเวนต์กาแฟ แต่ในวันนี้พวกเขากำลังขยายความสนใจไปยังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงกับสินค้าชุมชนและวิถีวัฒนธรรมของพะเยา และอยากเห็นการพัฒนาพื้นที่สาธารณะกระจายไปทั่วทั้งเมืองทั้งจังหวัด…

เปิดพื้นที่เยาวชน พัฒนา ‘หาดใหญ่’ ให้เป็นเมืองที่เสมอภาคสำหรับทุกคน

เปิดพื้นที่เยาวชน พัฒนา ‘หาดใหญ่’ ให้เป็นเมืองที่เสมอภาคสำหรับทุกคน

จากจุดเริ่มต้นของคนที่สนใจเรื่องการละคร มองเห็นพลังของละครในฐานะเครื่องมือเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ รวมถึงศักยภาพของละครในการเปลี่ยนทัศนคติหรือฐานคิดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง วันนี้ ‘โตมร อภิวันทนากร’ ผู้ก่อตั้งกลุ่มมานีมานะ กำลังมีบทบาททำงานอย่างแข็งขันในการส่งเสริมพลังเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ร่วมกันขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระดับเมือง โครงการหาดใหญ่เมืองสำหรับทุกคน หรือ Hatyai Inclusive City เป็นพื้นที่ความคิด ความรู้ รวมถึงการส่งเสียงถึงคุณภาพชีวิตสาธารณะ ซึ่งริเริ่มขึ้นเพื่อให้คนที่ใช้ชีวิตในหาดใหญ่ตระหนักถึงความเป็นพลเมือง และเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนา ตลอดจนความจำเป็นที่เมืองควรจะมีแหล่งเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ความหลากหลายและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับคนทุกช่วงวัย นอกจากนั้น ในฐานะผู้เชี่ยวชาญโครงการริทัศน์ (RTUS – Rethink Urban Spaces) เขายังมีบทบาทดูแลและให้คำปรึกษากับ ‘กลุ่มเยาวชนริทัศน์หาดใหญ่’ เพื่อทำหน้าที่ส่งเสียงความต้องการของเยาวชนต่อผู้บริหารท้องถิ่น ผลักดันไอเดียสร้างสรรค์ของเยาวชนให้บูรณาการร่วมกับทิศทางการพัฒนาเทศบาลนครหาดใหญ่ และสร้างแผนปฏิบัติการพื้นที่การมีส่วนร่วมของเยาวชนต่อประเด็นสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมือง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้เยาวชนทำงานและเรียนรู้ร่วมกันข้ามจังหวัด และสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมการพัฒนาเชิงพื้นที่และเชิงดิจิทัล โครงการและความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักเหล่านี้เอง มีส่วนอย่างยิ่งในการหนุนเสริมเติมเต็มแนวทาง Hatyai Learning City หรือ ‘หาดใหญ่เมืองแห่งการเรียนรู้’…

‘ลำพูนซิตี้แล็บ’ ผสานไอเดียสร้างสรรค์ ผนึกพลังพลเมือง ทำลำพูนให้น่าอยู่

‘ลำพูนซิตี้แล็บ’ ผสานไอเดียสร้างสรรค์ ผนึกพลังพลเมือง ทำลำพูนให้น่าอยู่

ลำพูน หรือ “หละปูน” เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ อายุกว่า 1,400 ปี ในอดีตเคยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูง รู้จักกันในชื่อ ‘นครหริภุญไชย’ กล่าวกันว่านี่คือเมืองซึ่งถือเป็นอิฐก้อนแรกของการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ให้กับเมืองอื่นของอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมา ปัจจุบัน ความเป็นเมืองแฝดที่อยู่ใกล้กับเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ ทำให้การพัฒนาความเจริญ (รวมทั้งปัญหา) ถ่ายเทไปยังเชียงใหม่ คนหนุ่มสาวในลำพูนไหลออกไปแสวงหาโอกาสที่มีมากกว่านอกจังหวัด จนเหลือคนสูงวัยเป็นประชากรหลัก ครอบครัวเงียบเหงา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลำพูนเป็นจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ทั้งที่มีสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างดี ขาดเพียงการเชื่อมโยงทรัพยากรและจุดแข็งของเมืองมาบูรณาการเข้ากับไอเดียสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้เอง ไชยยง รัตนอังกูร และ อัญมณี มาตยาบุญ ซึ่งมีพื้นเพเป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด จึงร่วมกันดัดแปลงร้านขายเครื่องเขียนเก่า ริมถนนหลังวัดพระธาตุหริภุญไชย เปิดเป็นร้านกาแฟชื่อ Temple House Lamphun เพื่อให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของเมือง ผ่านอาหาร เครื่องดื่ม งานดีไซน์…

สองห้องสมุดเมืองพร้าว กับสองสาวที่ชุบชีวิตชุมชนด้วยหนังสือ

          ราวหนึ่งร้อยกิโลเมตรจากตัวเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางความเจริญและแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เป็นที่ตั้งของ ‘พร้าว’ อำเภอที่นักท่องเที่ยวไม่ค่อยรู้จัก และมักเป็นเส้นทางผ่านไปยังอำเภออื่นๆ พร้าวในวันนี้ยังเต็มไปด้วยทุ่งนาป่าเขา ผู้คนส่วนใหญ่ยังทำการเกษตรและมีวิถีชีวิตเรียบง่าย           ทว่าสิ่งหนึ่งที่อำเภอพร้าวมีไม่ด้อยไปกว่าเมืองใหญ่ เป็นเพชรล้ำค่าที่ยังไม่ค่อยมีใครแลเห็น คือห้องสมุดเล็กๆ สองแห่งที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและเป็นแหล่งชุบชูใจของผู้คนในชุมชน           ‘ห้องสมุดจินดา’ และ ‘ห้องสมุดรังไหม’ ไม่ใช่แหล่งเรียนรู้สาธารณะของรัฐ แต่เกิดขึ้นจากความทุ่มเทโดยไม่หวังผลตอบแทนของผู้หญิงเก่งสองคน คือ ‘การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์’ นักเขียน อดีตบรรณาธิการ และผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ ซึ่งมีความฝันอยากทำห้องสมุดชุมชนมาตั้งแต่วัยรุ่น และกว่าจะเป็นจริงได้ก็อีก 30 ปีให้หลัง อีกคนหนึ่งคือ ‘โยชิมิ โฮรุจิ’ หญิงสาวชาวญี่ปุ่นผู้มีความบกพร่องทางสายตา ที่จากบ้านเกิดเมืองนอนมาปักหลักทำงานส่งเสริมการอ่านในอำเภอพร้าวเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว           ห้องสมุดทั้งสองแห่ง ได้เติมเต็มความขาดแคลน และสร้างโอกาสในการเข้าถึงการอ่านและการเรียนรู้ของคนหลากหลายกลุ่ม ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าห้องสมุดยังมีคุณค่าสำหรับผู้คนอยู่เสมอ…

วิทยากร โสวัตร : วรรณกรรมลุ่มน้ำของ จิตวิญญาณอีสาน และร้านหนังสือฟิลาเดลเฟีย

          เสน่ห์ของร้านหนังสืออิสระอยู่ที่เอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามตัวตนของเจ้าของร้าน สะท้อนผ่านการดีไซน์ บรรยากาศ ประเภทหนังสือ และกิจกรรมต่างๆ           ในยุคที่อุตสาหกรรมหนังสือกำลังเผชิญมรสุมใหญ่ หนึ่งในร้านหนังสืออิสระที่สามารถยืนระยะได้อย่างน่าชื่นชม คือร้าน ‘ฟิลาเดลเฟีย’ จังหวัดอุบลราชธานี           หากสัมผัสอย่างผิวเผิน ฟิลาเดลเฟียเป็นร้านหนังสือเล็กๆ ที่มีบรรยากาศรื่นรมย์ โดดเด่นด้วยอาคารที่ออกแบบเป็นรูปทรงดินสอสีเหลืองสะดุดตา ห้อมล้อมด้วยทุ่งนาและดอกไม้หลากสี แต่หากได้สัมผัสอย่างจริงจัง จะพบว่าที่นี่เป็นร้านหนังสือที่เต็มไปด้วยขุมทรัพย์ทางวรรณกรรม           ผู้อ่านสามารถถามหาหนังสือที่มีเนื้อหาหนักๆ ด้านสังคม ประวัติศาสตร์ การเมือง วัฒนธรรม ที่แม้แต่ห้องสมุดบางแห่งยังไม่มี ขณะเดียวกันก็เป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์ จัดกิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับศิลปะและวรรณกรรมตามวาระต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ           ที่สำคัญคือตัวเจ้าของร้าน เจี๊ยบ-วิทยากร โสวัตร ซึ่งเป็นเสมือนห้องสมุดมีชีวิต พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้มาเยือนทุกเพศทุกวัย และหากสนทนาลื่นไหลจนลืมวันลืมคืน บริเวณชั้นบนของร้านก็มีห้องพักที่เตรียมไว้ เปิดให้นักอ่านและมิตรสหายพักแรมได้อย่างไม่ขัดเขิน          …

ภาคิน นิมมานนรวงศ์ ครูผู้เปลี่ยนวิชาสังคมศึกษาให้เป็นเรื่องใกล้ตัวและน่าสนุก

ภาคิน นิมมานนรวงศ์ ครูผู้เปลี่ยนวิชาสังคมศึกษาให้เป็นเรื่องใกล้ตัวและน่าสนุก

          ทิศทางการศึกษาหลายปีที่ผ่านมา ให้ความสำคัญกับเรื่องการสอนให้เด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ในฐานะทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สามารถต่อยอดไปสู่การเรียนรู้อื่นๆ และดำรงชีวิตอย่างมีเหตุมีผล           ในบรรดาศาสตร์ต่างๆ ที่มีสอนในโรงเรียน กลุ่มวิชาสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และพุทธศาสนา จัดว่าเป็นยาขมสำหรับใครหลายๆ คน เพราะเต็มไปด้วยข้อมูลเนื้อหามากมายให้ท่องจำ และยากที่จะจินตนาการได้ว่าจะสอนอย่างไรให้สนุกและทำให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์ไปพร้อมกัน           The KOMMON พาไปล้วงลึกเคล็ดลับการสอนของ ‘ภาคิน นิมมานนรวงศ์’ ครูสังคมศาสตร์รุ่นใหม่แห่งโรงเรียนกำเนิดวิทย์ จังหวัดระยอง ผู้ยั่วยุให้เด็กรู้จักตั้งคำถามกับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อนำไปสู่ปัญญา ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นจากการก้มหน้าก้มตาท่องตำราแต่เพียงอย่างเดียว คุณเรียนจบด้านไหน และมาเป็นครูสังคมศึกษาที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้อย่างไร           หลังจากเรียนจบปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมทำงานวิจัยให้กับ สกว. เกี่ยวกับภูมิภาคอาเซียน พร้อมกับเรียนโทด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พอเรียบจบก็สนใจงานสอนในมหาวิทยาลัย ไม่เคยคิดมาก่อนเหมือนกันว่าจะมาเป็นครูหรือสอนหนังสือเด็ก แต่ตอนนั้นจังหวะมันพอเหมาะพอดี…

‘ห้องสมุดจินดา’ โครงการสานฝันของ นักเขียน แม่หมอ และอดีต บ.ก.นิตยสารวัยรุ่น

‘ห้องสมุดจินดา’ โครงการสานฝันของ นักเขียน แม่หมอ และอดีต บ.ก.นิตยสารวัยรุ่น

          จนถึงวันนี้ ‘โครงการสิริเมืองพร้าว’ ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมของอำเภอเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่อีกแล้ว           จากความฝันและความมุ่งมั่นของเกด – เจ้าของนามปากกา ‘การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์’ และน้องสาว ซึ่งร่วมกันบุกเบิกที่ดิน 7 ไร่ตรงข้ามบ้านให้กลายเป็นธุรกิจเพื่อชุมชน มีร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม ของกินเล่น แวดล้อมด้วยสวนเกษตรอินทรีย์ และต้นไม้ใหญ่น้อยให้ความร่มรื่น มีห้องเรียนและลานกิจกรรมสำหรับเด็ก           บางโอกาสก็แปลงโฉมโครงการเป็นตลาดนัด เปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านนำพืชผลเกษตรปลอดสารพิษและสินค้าแปรรูปมาวางจำหน่าย สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดการค้าขายหมุนเวียนให้กับคนทั้งในและนอกชุมชน            และที่โดดเด่นสะดุดตา คือ ‘ห้องสมุดจินดา’ ซึ่งมีหนังสือหลากหลายแนว เหมาะกับนักอ่านทุกเพศทุกวัย มุมหนังสือเด็กเป็นพื้นที่ยอดนิยม มีเด็กๆ ในชุมชนแวะเวียนมาอ่านและยืมหนังสือแทบไม่เว้นวัน            หนังสือ ‘ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว’ ปลุกความคิดเด็กสาววัยไร้เดียงสาให้กล้าคิดกล้าตั้งคำถาม กล้าฝันและเก็บงำความตั้งใจเอาไว้หลายสิบปี…

ออกแบบชีวิต ด้วยการคิดเชิงออกแบบ

ออกแบบชีวิต ด้วยการคิดเชิงออกแบบ

          Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ เป็นเครื่องมือที่อยู่ในความสนใจของคนทำงานด้านนวัตกรรมและการแก้ไขปัญหา เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูงสามารถนำไปปรับใช้ได้กับสถานการณ์ที่หลากหลาย ทั้งงานออกแบบ งานบริการ งานด้านการพัฒนาสังคม การศึกษา หรือแม้กระทั่งงานพัฒนาห้องสมุด และยังเหมาะสำหรับการตอบโจทย์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใครริเริ่มมาก่อน โดยเน้นไปที่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญ           ‘การคิดเชิงออกแบบ’ ยังได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการแสวงหาชีวิตที่มีความหมายของ แตว – วิริยา วิจิตรวาทการ ผู้มุ่งมั่นปรารถนาอยากจะมีส่วนร่วมและทำงานเพื่อแก้ปัญหาสังคม โดยเลือกที่จะไม่เดินตามค่านิยมหรือแนวทางที่ผู้อื่นขีดไว้ จะว่าไปแล้ว เส้นทางการค้นหาและค้นพบตนเองของเธอนั้น หากจะให้สรุปรวบรัดเพียงหน้ากระดาษไม่กี่แผ่นก็ดูจะหยาบและฉาบฉวยเกินไป แต่ก็พูดได้เต็มปากว่าเพราะการคิดเชิงออกแบบจึงทำให้เธอสามารถเติมเต็มคุณค่าของชีวิตและพยายามสร้างโลกใบใหม่ที่ดีกว่าได้ในแบบที่เธอพึงพอใจ  ภาพฝังใจเมื่อวัยเยาว์           วิริยา เติบโตขึ้นมาภายใต้สิ่งแวดล้อมทางบ้านที่มีความสนใจและทำงานเพื่อส่วนรวม เมื่ออายุเพียง 7 ขวบเธอติดตามครอบครัวไปร่วมทำกิจกรรมในโครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ซึ่งจุดประกายให้เธอสนใจงานด้านการพัฒนาตั้งแต่นั้นมา แต่ทว่าในช่วงวัยแห่งการแสวงหานั้น…

บุกเบิกงานอาสา ตีแผ่ปัญหาคนชายขอบ “30 ปี มูลนิธิกระจกเงา”

บุกเบิกงานอาสา ตีแผ่ปัญหาคนชายขอบ “30 ปี มูลนิธิกระจกเงา”

           จากโครงการอาสาสมัครครูช่วยสอนหนังสือให้เด็กชาวเขาบนดอยสูงของจังหวัดเชียงราย ที่รู้จักกันดีในชื่อโครงการ ‘ครูบ้านนอก’ มาสู่องค์กรพัฒนาเอกชนแห่งแรกๆ ของไทยที่ให้ความสนใจอย่างจริงจังกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแก้ปัญหาและปรับใช้ในการทำงาน ถึงขั้นเปิดเว็บไซต์ขายของ (ส่วนใหญ่คือสินค้าฝีมือชาวเขา) ชื่อ ‘อีบ้านนอกดอทคอม’ ในเวลาใกล้ๆ กับที่แจ็ค หม่า พึ่งจะเริ่มเข้าสู่วงการอีคอมเมิร์ซ และยังเป็นผู้มาก่อนกาลที่นำเอาหลักการระดมทรัพยากรและเงินทุนจากฝูงชนภายนอกมาประยุกต์ใช้ ในสมัยที่ยังไม่มีใครรู้จักคำเท่ๆ อย่าง crowdsourcing และ crowdfunding เสียด้วยซ้ำ            ไม่เพียงแต่โดดเด่นเป็นผู้นำในกิจกรรมจิตอาสาเรื่องต่างๆ เท่านั้น มูลนิธิฯ ยังสร้างชื่อเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากโครงการศูนย์ข้อมูลคนหาย รวมไปถึงการเกาะติดประเด็นปัญหาเฉพาะที่มีความแหลมคม อย่างเช่น คนไร้สัญชาติ เด็กไร้สัญชาติ สึนามิ ไฟป่า ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแตกแขนงมาจากการลงไปคลุกคลีทำความเข้าใจกับปัญหาและผู้คนอย่างลึกซึ้งถึงในพื้นที่จริงทั้งสิ้น            มาร่วมกันย้อนรับฟังเรื่องราวความเป็นมาของ “มูลนิธิกระจกเงา” ที่ปีนี้เติบโตมีอายุครบ 30 ปีกับ ประไพ…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก