เสาวลักษณ์ เชื้อคำ

เสาวลักษณ์ เชื้อคำ

จากเปียโนในห้องอนุบาลจนถึงไลฟ์เฮาส์ : ญี่ปุ่นสร้างอุตสาหกรรมดนตรีอันแข็งแกร่งได้อย่างไร?

จากเปียโนในห้องอนุบาลจนถึงไลฟ์เฮาส์ : ญี่ปุ่นสร้างอุตสาหกรรมดนตรีอันแข็งแกร่งได้อย่างไร?

          ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมดนตรีใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก สถิติล่าสุดที่เผยแพร่โดยสมาคมอุตสาหกรรมแผ่นเสียงแห่งประเทศญี่ปุ่น (Recording Industry Association of Japan – RIAJ) เปิดเผยว่า ในปี 2022 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมดนตรีดิจิทัลของญี่ปุ่นมีมูลค่าถึง 307 พันล้านเยน (2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2021 ถึง 9% และคาดการณ์ว่าชาวญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินไปกับดนตรีต่อหัวมากกว่าชาวอเมริกันถึง 2 เท่า            ในขณะที่อุตสาหกรรมดนตรีทั่วโลกย้ายพื้นที่หลักขึ้นไปอยู่บนโลกสตรีมมิงมานานนับทศวรรษแล้ว แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ยอดซื้อขายซีดีและแผ่นเสียงไวนิลในญี่ปุ่นยังคิดเป็น 66% ของการบริโภคสินค้าที่เกี่ยวกับดนตรีทั้งหมด เป็นหลักฐานหนึ่งว่า สำหรับชาวญี่ปุ่น ดนตรีเป็นมากกว่าการผ่อนคลายหรือการเปิดเพื่อสร้างบรรยากาศ แต่เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ควรค่าแก่การจับจ่ายใช้สอยและเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชีวิต…

โลกของ Book Club วัฒนธรรมรวมหัวของเหล่านักอ่านในวันวานและวันนี้

โลกของ Book Club วัฒนธรรมรวมหัวของเหล่านักอ่านในวันวานและวันนี้

          เมื่อพูดถึง Book Club หลายคนมักมีภาพแช่แข็งในจินตนาการว่าควรจะเต็มไปด้วยเหล่าผู้คงแก่เรียน อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจารณ์หนังสือ หรือบรรดานักศึกษาสายวรรณกรรมแสนคร่ำเคร่งที่มานั่งล้อมวงถกเถียงหาแก่นสาร สาระ และระบบความคิด (School of Thought) บางอย่างที่ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัดในหนังสือ คล้ายกับว่าเป็นชั่วโมงเรียนในระดับอุดมศึกษา แต่แท้จริงแล้ว Book Club ไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว และอันที่จริงต้องบอกว่า ชั่วโมงวรรณกรรมวิจารณ์แสนคร่ำเคร่งนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยมากๆ ในจักรวาล Book Club เท่านั้น           คงจะไม่เกินจริงไปมากนัก หากจะบอกว่า นับตั้งแต่ที่ประชากรบนโลกอ่านออกเขียนได้กันแพร่หลาย และอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์คึกคักจนเกิดระบบการพิมพ์หนังสือโดยทั่วไปขึ้น เหล่านักอ่านก็รวมตัวกันพูดคุยถกเถียงเรื่องหนังสือกันอยู่เสมอ Book Club จึงไม่ใช่กิจกรรมที่เกิดและเติบโตขึ้นเฉพาะในรั้วอุดมศึกษาอย่างที่หลายคนเข้าใจ ประวัติศาสตร์ของ Book Club           หากเรานิยามว่าการรวมตัวเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือในหัวข้อต่างๆ คือ…

ก่อนจบ ม.ปลาย ต้องสอบวิชาปรัชญา ‘Bac Philo’ เหตุผลทางปรัชญาของการศึกษาฝรั่งเศส

ก่อนจบ ม.ปลาย ต้องสอบวิชาปรัชญา ‘Bac Philo’ เหตุผลทางปรัชญาของการศึกษาฝรั่งเศส

          เมื่อพูดถึงวิชาปรัชญา เราจะนึกถึงอะไรกันบ้าง?           หลายคนอาจนึกถึงชื่อนักปรัชญาชื่อดัง บางคนนึกถึงตำราเล่มหนาเตอะ ส่วนอีกบางคนนึกอะไรไม่ออกเลย เพราะไม่เคยข้องเกี่ยวกับวิชาปรัชญามาก่อนในชีวิต วิชาปรัชญาในประสบการณ์คนไทยส่วนใหญ่คงเป็นเช่นนั้น มันเป็นคำขึ้นหิ้งชนิดที่ว่า หากไม่ใช่นักศึกษาวิชาปรัชญา ไม่มีความจำเป็นต้องเรียน ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรู้ เพราะระบบการศึกษาของเราไม่เคยบอกว่าวิชาปรัชญาเป็นเรื่องสามัญ            ขณะเดียวกัน นักเรียนชั้นมัธยมปลายในฝรั่งเศส ทุกคน ทุกสายการเรียน ล้วนต้องผ่านข้อสอบ Bac Philo หรือข้อสอบวัดระดับวิชาปรัชญาเสียก่อน จึงจะนับว่าจบการศึกษาขั้นมัธยมอย่างสมบูรณ์            อะไรทำให้ฝรั่งเศสเชื่อว่าวิชาปรัชญาควรนับให้เป็นวิชาพื้นฐานของนักเรียนมัธยมปลาย และประเทศไทยเราควรยึดฝรั่งเศสเป็นแบบด้วยหรือไม่ ขอชวนมาขบคิดกันอย่างไม่มีถูกผิดแต่อย่างใด Bac Philo           ข้อสอบ Baccalauréat (บักกาโลเรอาต์) หรือ Bac (บัก) เป็นข้อสอบกลางระดับประเทศที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าทุกคนต้องสอบเพื่อจบการศึกษา (คล้ายกับที่เด็กไทยเราสอบ O-NET)…

นิตยสารอิสระ จังหวะเต้นของหัวใจในโลกสิ่งพิมพ์ (ที่ยังไม่ตาย)

          ‘สิ่งพิมพ์ตายแล้ว’ เป็นวลีเด็ดที่ก่อให้เกิดการถกเถียงมากมายนับตั้งแต่โลกอินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์เข้ามามีส่วนสำคัญในการรับรู้ข่าวสารประจำวัน โดยเฉพาะในช่วงปี 2555-2565 ซึ่งเป็นทศวรรษที่นิตยสารไทยปิดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์           บางกอกรายสัปดาห์ นิตยสารที่คอยอัปเดตข่าวสารใหม่ๆ และให้ความบันเทิงกับคนไทยมามากเกือบ 3,000 ฉบับ ตัดสินใจยุติการพิมพ์ลงในปี 2557 ตามมาด้วยนิตยสารสตรีอย่าง สกุลไทย ที่ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายในปี 2559 นิตยสารทั้งสองชื่อนี้ต่างมีอายุการตีพิมพ์ยาวนานกว่า 60 ปี เมื่อยักษ์ใหญ่ตัดสินใจวางมือจากวงการ จึงเกิดแรงกระเพื่อมไปยังนิตยสารเล่มอื่นๆ ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย           ช่วงเวลานับจากนั้นคือฝันร้ายของแวดวงนิตยสารไทย เพราะนิตยสารชื่อคุ้นหูหลายสำนักต่างตีพิมพ์ฉบับอำลากันถ้วนหน้า นิตยสารขวัญใจแม่บ้าน คนรักอาหารและงานคหกรรมอย่าง Health & Cuisine ครัว และ ขวัญเรือน ปิดตัวลงในปี 2560 กระทั่ง คู่สร้างคู่สม แหล่งความรู้รอบและความบันเทิงราคาย่อมเยา…

แหล่งชุมนุมความคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการเรียนรู้
และห้องสมุดกับการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                                                                            

The KOMMON มีการใช้คุกกี้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์และปรับปรุงการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก